ย้อนเวลาสู่งานดีไซน์: แบบทรงผมและการแต่งหน้าสำหรับละครย้อนยุคไทยยุค รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๘–๒๔๗๕)
ย้อนเวลาสู่งานดีไซน์: แบบทรงผมและการแต่งหน้าในละครย้อนยุคไทยยุค รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๘–๒๔๗๕)
เพื่อนนักออกแบบเครื่องแต่งกายของผมกำลังอยู่ในช่วงเตรียมงานละครโทรทัศน์ไทยเรื่องใหม่ ที่มีฉากหลังอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ซึ่งครอบคลุมช่วงกลางทศวรรษ ๒๔๖๐ ถึงต้นทศวรรษ ๒๔๗๐ โดยแม้ว่า “โครงร่างหรือรูปทรงของแฟชั่น” (fashion silhouette) ในยุค 1920s และ 1930s จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน—ตั้งแต่เดรสทรงตรงและเอวต่ำของยุคฟลัปเปอร์ ไปจนถึงเดรสเอวสูง เข้ากับรูปร่าง และกระโปรงที่ยาวถึงกลางหน้าแข้งแบบ midi length ในช่วงต้นทศวรรษ 1930—แต่สิ่งที่ยังคงเหมือนกันในทั้งสองยุคนี้ก็คือ สไตล์ของ ทรงผมและการแต่งหน้า
หนึ่งในลุคทรงผมที่โดดเด่นที่สุดของยุคนั้นคือ Marcel Wave หรือที่ในภาษาไทยที่เรียกการดัดลอนคลื่นแบบนี้กันว่า “ทรงปันหยี” หรือ “ลอนมาเซล” เป็นลอนผมที่แนบชิดศีรษะ มีลักษณะโค้งเรียบสวยต่อเนื่องคล้ายคลื่นทะเล และใหญ่กว่า finger wave ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงยุคอาร์ตเดโค (Art Deco) ซึ่งตรงกับช่วงทศวรรษ 1920–1930 พอดี
ลักษณะเด่นของทรงผมลอนมาเซล (Marcel Wave)
เทคนิค: ใช้ที่หนีบผมร้อนแบบโบราณที่ควบคุมด้วยมือ เรียกว่า “Marcel iron” (ไม่ใช่แบบสปริงเหมือนที่ใช้กันในปัจจุบัน)
รูปลักษณ์: ลอนโค้งแนบศีรษะ ดูเรียบหรูและต่อเนื่องคล้ายคลื่นน้ำ
บริบททางประวัติศาสตร์: ได้รับความนิยมในยุคฟลัปเปอร์ และมักทำร่วมกับทรงผมบ๊อบ
คนดังที่นิยมทรงนี้: นักแสดงชื่อดังอย่าง Josephine Baker มักปรากฏตัวด้วยผมลอนมาเซลคู่กับชุดแสดงสุดโดดเด่น
การปรับใช้ในยุคปัจจุบัน: ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคนิคนี้ร่วมกับการเซ็ตลอนแบบ finger wave เพื่อให้ได้ลุควินเทจที่นุ่มนวลมากขึ้น
สำหรับผู้หญิงที่มีผมยาวในยุคนั้น ก็มักจะรวบผมไว้ที่ท้ายทอยแล้วเกล้าหรือปักกิ๊บประดับไว้เหนือใบหูเพื่อให้ดูสุภาพเรียบร้อยและสง่างาม
ทรงผมนี้มีต้นกำเนิดมาจากช่างทำผมชาวฝรั่งเศสชื่อว่า Marcel Grateau ซึ่งเริ่มพัฒนาเทคนิคการทำลอนแบบนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 ต่อมาเขาได้อพยพไปยังสหรัฐอเมริกาและเปลี่ยนชื่อเป็น François Marcel Woelfflé และได้รับสิทธิบัตรเกี่ยวกับอุปกรณ์ทำผมในปี 1905 และ 1918
การแต่งหน้าในยุคนั้น: ลุคตุ๊กตา (Doll-like) ที่กลายเป็นเอกลักษณ์
การแต่งหน้าในช่วงทศวรรษ 1920–1930 ก็มีความโดดเด่นไม่แพ้ทรงผม โดยจะเน้นลุคที่เรียกว่า ตุ๊กตาวินเทจ ซึ่งใช้เครื่องสำอางเพื่อเน้นดวงตาให้ดูคมชัดและเย้ายวน พร้อมกับผิวที่เนียนเรียบเหมือนพอร์ซเลน
คิ้ว:
คิ้วถูกกันให้บางมากแล้ววาดใหม่ให้โค้งลง (หรือโค้งขึ้นสูงเล็กน้อย)
บางคนวาดเส้นคิ้วเลยหางตาลงมาเล็กน้อยเพื่อให้ดูหวานเศร้าอย่างมีเสน่ห์
ดวงตา:
เป็นจุดเด่นของใบหน้าในยุคนี้
ใช้ดินสอเขียนตาหรือคาโฮลแต่งขอบตาบนและล่างให้ดูชัด
ปัดมาสคาร่าแบบเข้ม ๆ เพื่อเพิ่มความดราม่าให้กับดวงตา
ริมฝีปาก:
เน้นวาดเป็นรูปหัวใจตรงกลางปาก (Cupid’s bow)
ใช้สีแดงเข้มหรือสีพลัม (plum) ซึ่งเป็นโทนที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น
ลุคนี้ถือว่าเป็นซิกเนเจอร์ของ “ยุคฟลัปเปอร์” ซึ่งสะท้อนถึงผู้หญิงสมัยใหม่ที่กล้าคิด กล้าแสดงออก และมีความเป็นอิสระ
มองย้อนกลับมายังละครย้อนยุคในประเทศไทย
จากการศึกษาของผมเกี่ยวกับละครไทยแนวพีเรียดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่า งานด้านทรงผมและการแต่งหน้า มักไม่ได้รับการออกแบบให้ตรงกับยุคสมัยอย่างแท้จริง หลายครั้งยังใช้การแต่งหน้าแบบร่วมสมัย ซึ่งอาจจะสวยงามแต่ไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ที่เล่าเรื่อง
นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ละครไทยยังไม่สามารถคว้ารางวัลในสาย งานสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ เช่น Emmy International ได้ แม้จะมีการส่งผลงานเข้าร่วมทุกปี ซึ่งในหมวด Costume Design, Hair & Make-up หรือ Production Design นั้น ความละเอียดและความถูกต้องของประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างมาก
ที่ผ่านมายังไม่ค่อยมีหลักสูตรเฉพาะด้านในประเทศไทยที่มุ่งเน้นการออกแบบสำหรับละครหรือภาพยนตร์แนวพีเรียด ส่วนใหญ่เน้นแฟชั่นร่วมสมัย และบุคลากรในอุตสาหกรรมเองอาจจะไม่ค่อยมีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องการวิจัยประวัติศาสตร์แฟชั่นอย่างจริงจัง
จุดเริ่มต้นของคอลเลกชันนี้
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงจัดทำ คอลเลกชันภาพ AI ชุดนี้ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักออกแบบเครื่องแต่งกาย ช่างแต่งหน้า และช่างทำผมในไทยที่ต้องการอ้างอิงสไตล์ของสตรีไทยในช่วง ปลายทศวรรษ 2460 ถึงต้นทศวรรษ 2470
รายละเอียดในภาพ เช่น ลอนผมมาเซล, คิ้วโค้งบาง, เครื่องประดับไข่มุกหลายชั้น, เสื้อแขนกุดลายปักดอกไม้ ล้วนเป็นองค์ประกอบที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความงามให้กับการเล่าเรื่องในงานสร้างสรรค์
เมื่อเราทำความเข้าใจยุคสมัยได้ลึกซึ้งและให้ความเคารพกับรายละเอียดในอดีต เราจะสามารถยกระดับการผลิตละครไทยให้เทียบชั้นกับผลงานระดับสากลได้อย่างภาคภูมิ
Fashioning the Past: Hair and Make-Up Accuracy for Thai Period Dramas Set During the Reign of King Rama VII (1925–1935)
A costume designer friend of mine is currently preparing for a new Thai television series set during the reign of King Rama VII, which spans from the mid-1920s to the early 1930s. While fashion silhouettes changed dramatically between these two decades—from the drop-waist flapper dresses of the 1920s to the more structured, high-waisted and elongated lines of the early 1930s—certain aspects remained surprisingly consistent. Among these were the prevailing hair and make-up styles.
One of the most iconic hairstyles of this era is the Marcel wave—a sophisticated style characterised by a series of deep, structured waves close to the scalp. This look was created using a Marcel iron, a type of non-spring-loaded curling iron that had to be carefully controlled by hand. Unlike finger waves, which were styled using just fingers and setting lotion, Marcel waves were heat-styled and required precision and skill.
Key Characteristics of the Marcel Wave:
Technique: Created with a heated Marcel iron manipulated manually to form uniform, S-shaped waves.
Visual Style: Deep, glossy, and close-set waves, often forming a sculptural frame around the face.
Cultural Context: Widely popular during the Art Deco period, especially among flappers and fashionable society women.
Celebrity Endorsement: Famous wearers included Josephine Baker, who often paired Marcelled hair with dramatic costumes and bold accessories.
Longevity: Though born in the early 20th century, the look remained fashionable through the 1930s and continues to inspire vintage enthusiasts today.
Historically, the Marcel wave was often worn with bobbed hair, but women with longer locks would either style them into pinned curls or tie them at the nape and secure them with decorative hairpins or flowers.
The technique is credited to Marcel Grateau (1852–1936), a Parisian hairdresser who revolutionised women’s hairstyling in the 1870s. Later emigrating to the U.S. and sometimes known as François Marcel Woelfflé, he patented the curling iron in 1905 and an electric hair-waving iron in 1918, paving the way for professional hairstyling tools used in salons worldwide.
The Make-Up of the Era: A Signature 'Doll-Like' Look
Make-up in the 1920s and early 1930s was equally distinctive. Women of this era aspired to a doll-like appearance that emphasised dramatic eyes, thin and highly arched eyebrows, and smooth porcelain skin.
Eyebrows:
Pencil-thin, sharply curved or sloped down toward the temple.
Often over-plucked and redrawn with dark pencil to achieve an exaggerated arch.
Eyes:
The centrepiece of the face.
Accentuated with kohl or dark eyeliner, especially on the upper and lower lash lines.
Lashes were thickened using mascara, often applied in multiple coats for intensity.
Lips:
Typically painted in a well-defined Cupid’s bow.
Shades ranged from deep reds to plum tones, creating a striking contrast with pale skin.
This particular aesthetic, combining Marcelled hair and dramatic make-up, defined the flapper image—a bold, independent, and modern woman of the Jazz Age.
A Critique of Historical Inaccuracy in Thai Period Dramas
In my own research and observations of Thai television, especially in historical or period productions, I’ve noticed a recurring problem: a lack of historical accuracy, particularly in hair and make-up. Many Thai period dramas use contemporary beauty trends—thick, straight eyebrows, modern contouring techniques, and hairstyles that have no historical basis in the time being portrayed.
As a result, despite the efforts of talented professionals, Thai television has yet to be recognised in creative categories at prestigious international awards like the International Emmys. Many productions are submitted annually, but few are shortlisted—particularly in the costume, make-up, and design categories.
This is not due to a lack of talent, but rather a lack of specialised training and historical research. In Thailand, there are very few academic or professional courses focused on period production design—be it in costume, make-up, or hair. Most curricula focus on contemporary fashion and beauty, leaving creative professionals underprepared when working on historical series or films.
Why This Collection Matters
With this in mind, I’ve created this AI-enhanced fashion collection focusing on women’s hair, make-up, and sleeveless embroidered blouses inspired by the mid-1920s to early 1930s in Siam. My hope is that it will serve as a reference toolfor Thai costume designers, hair stylists, and make-up artists working on period productions.
By studying the details—the Marcel wave, the pencil-thin brows, the layering of pearl necklaces, the silhouette of embroidered blouses—we can begin to build a more authentic visual language for Thai historical narratives. When we respect the aesthetics of the past, we not only honour history but also elevate the creative standards of our own cultural storytelling.
#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI #thailand #UNESCO