Princess Dara Rasmi, by Erb Bunnag, 1905, Bangkok
The set of eight photographs showcase Princess Dara Rasami of Chiang Mai, taken in 1905 by Chao Chom Erb Bunnag in an outdoor studio setting at Vimanmek Mansion, Dusit Palace in Bangkok
รูปถ่ายลงสีแบบเสมือนจริงนี้ ครบซีรีย์ทั้งหมด 8 ภาพ พร้อมภาพการเตรียมตัวการจัดทำการถ่ายภาพ ที่พระที่นังวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นถึงพระราชชายาเจ้าดารารัศมี แห่งเชียงใหม่ ถ่ายโดยเจ้าจอมเอิบ บุนนาค ในปี พ.ศ. 2448 ในฉากกลางแจ้งที่จัดแต่งให้เหมือนห้องแต่งตัวของสตรีชาวยุโรป ประกอบด้วยโต๊ะเครื่องแป้ง กระจก และพรม โดยฉากเหล่านี้ถ่ายทอดช่วงเวลาที่พระราชชายาปลดปล่อยผมยาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ล้านนา รูปถ่ายนี้สะท้อนถึงบทบาทที่เปลี่ยนแปลงของสตรีในราชสำนักไทยและความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างชนชั้นสูงของสยามและล้านนาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ ในขณะที่สตรีในกรุงเทพฯ นิยมตัดผมสั้นและนุ่งโจงกระเบน สตรีล้านนากลับรักษาผมยาวและสวมผ้าซิ่น ซึ่งสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสตรีล้านนา เจ้าดารารัศมีทรงเลือกคงเอกลักษณ์นี้ไว้ตลอดพระชนม์ชีพในกรุงเทพฯ เพื่อแสดงถึงมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนา
รูปถ่ายโดยเจ้าจอมเอิบ บุนนาค ซึ่งมักถ่ายทอดความหลากหลายทางวัฒนธรรม แสดงให้เห็นถึงความหลงใหลในความทันสมัยของชนชั้นสูงในสยามที่ผสมผสานความงามแบบตะวันตกเข้ากับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ การใช้กระจกและโต๊ะเครื่องแป้งในรูปยังช่วยขับเน้นอัตลักษณ์ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีในฐานะตัวแทนของล้านนาท่ามกลางราชสำนักกรุงเทพฯ ที่กำลังปรับเปลี่ยนตามแนวคิดความศิวิไลซ์ (siwilai)
รูปทั้งหมด ลงสีและปรับปรุงให้คมชัดกว่าภาพต้นฉบับด้วยเทคโนโลยี AI ทำให้เหมือนภาพถ่ายแบบ HD เป็นการปรับปรุงและรักษาภาพถ่ายในอดีตมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ภาพทั้งหมดเหล่านี้เสมือนเป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยเก็บรักษาและตีความภาพประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
ภาพต้นฉบับอยู่ในคอมเมนต์ของภาพแต่ละภาพครับ
The set of eight photographs showcase Princess Dara Rasami of Chiang Mai, taken in 1905 by Chao Chom Erb Bunnag in an outdoor studio setting at Vimanmek Mansion, Dusit Palace in Bangkok, complete with a European-style toilette table, mirrors, and rugs. This intimate portrayal captures Princess Dara Rasami letting down her exceptionally long hair—a notable symbol of her ethnic and regional identity from Lan Na (Northern Thailand).
These images exemplify both the evolving roles of Siamese royal women in early 20th-century photography and the cultural distinctions between Siamese and Lan Na elites. Princess Dara Rasami, a royal consort of King Chulalongkorn (Rama V), entered the Siamese court as part of a diplomatic alliance. Unlike Siamese women who embraced the cropped hair style and wearing chong kraben (a wrapped lower garment), Lan Na women like Princess Dara retained their traditional tubular skirts (pha-sin) and long hair, often styled in a bun. This sartorial distinction highlighted her ethnic identity and her unique role as both a representative of Lan Na culture and a member of the Siamese royal court.
Chao Chom Erb Bunnag’s photography often depicted such cultural nuances. These images, staged yet intimate, reflect the Siamese elites’ fascination with modernity, aligning with Western aesthetics while showcasing ethnic diversity within the royal court. The mirrors and dressing table not only enhance the aesthetic appeal but also serve to frame Dara Rasami's cultural and feminine individuality, juxtaposing her Northern traditions against Bangkok's evolving notions of siwilai (civilisation).
The colourised and AI-enhanced version of one photograph transforms it into a lifelike representation, bridging the historical past with modern technology. This approach underscores the importance of preserving and reinterpreting historical imagery.

















