แฟชั่นแบบตะวันตกยุคแรกแห่งสยาม: แฟชั่นสตรีไทยในต้นรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2413–2433) 1870s-1880s
แฟชั่นแบบตะวันตกยุคแรกแห่งสยาม: แฟชั่นสตรีไทยในต้นรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2413–2433) 1870s-1880s
ในช่วงทศวรรษแรกแห่งรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สยามกำลังยืนอยู่ ณ ห้วงเวลาของ ประเพณีกับความทันสมัย พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เสด็จขึ้นครองราชย์หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดาในปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 15 พรรษา ท่ามกลางแรงกดดันจากลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตก พระองค์ทรงดำเนินนโยบายปรับตัวอย่างระมัดระวัง ทั้งในด้านการทูต การปกครอง และวัฒนธรรม เพื่อธำรงเอกราชของสยามให้มั่นคง
การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ได้นำไปสู่พัฒนาการที่น่าสนใจในแวดวงเครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะในราชสำนักฝ่ายใน ซึ่งเกิดเป็นการผสมผสานกันอย่างประณีตระหว่าง โครงเสื้อแบบตะวันตกกับรสนิยมไทย นำมาสู่รูปแบบแฟชั่นที่สะท้อนตัวตนแห่งยุคสมัย และนั่นคือหัวใจของ คอลเลกชันภาพที่สร้างโดย AI ชุดนี้
อัตลักษณ์ใหม่ผ่านเครื่องแต่งกาย: เมื่อแฟชั่นราชสำนักกลายเป็นศิลปะถ้อยแถลงทางวัฒนธรรม
ในช่วงทศวรรษ 2410 (ค.ศ. 1870s) ขณะที่อังกฤษกำลังขยายอำนาจในพม่า และฝรั่งเศสเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลในเขมรและเวียดนาม สยามเลือกแนวทางการปรับตัวอย่างมียุทธศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จประพาสต่างประเทศ ทั้งที่สิงคโปร์ ชวา และบริติชอินเดีย ขณะนั้น บริติชอินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria) ซึ่งในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ได้ทรงรับพระราชสมัญญาว่า จักรพรรดินีแห่งอินเดีย (Empress of India) อย่างเป็นทางการ ส่วนในภูมิภาคอินโดจีน จักรวรรดิฝรั่งเศสภายใต้รัชสมัยของ พระเจ้าหลุยส์ ฟิลิปป์ (สิ้นสุดในปี 1848) และต่อมาโดย นโปเลียนที่ 3 (Napoleon III)(ค.ศ. 1852–1870) ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สาม ได้ขยายอำนาจเข้าครอบครองเวียดนาม เขมร และลาว จนกลายเป็น อินโดจีนฝรั่งเศส (French Indochina) ในเวลาต่อมา การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสด็จเยือนบริติชอินเดีย จึงไม่เพียงเพื่อการเรียนรู้ แต่ยังสะท้อนการสร้างสมดุลทางอำนาจกับจักรวรรดิยุโรปทั้งสอง
ท่ามกลางฉากหลังทางการเมืองนี้ ภาพลักษณ์ของพระราชสำนักกลายเป็นเครื่องมือเชิงอำนาจละมุน (soft power) การแต่งกายของฝ่ายในโดยเฉพาะ บรรดาเจ้าจอมและพระมเหสี ได้เปลี่ยนแปลงไปเพื่อสะท้อนทั้งความเปิดรับโลกตะวันตกและความเป็นไทยที่ยังหยั่งรากลึก ซึ่งเห็นได้ชัดจากการประยุกต์ใช้ เสื้อลูกไม้แบบตะวันตก (bodice) ควบคู่กับ โจงกระเบน และ สไบ
AI กับการสืบค้นแฟชั่นในอดีต: ฟื้นคืนความงามที่เลือนหาย
คอลเลกชันนี้ถูกสร้างขึ้นจาก โมเดล AI แบบ LoRA (Low-Rank Adaptation) โดยใช้ชุดข้อมูลหลักจากสองแหล่งสำคัญ ได้แก่:
ภาพถ่ายขาวดำจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งบันทึกภาพของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี และ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ในรัชกาลที่ 5
แฟชั่นสตรีจากยุโรปในช่วง ค.ศ. 1870–1880 โดยเฉพาะชุดยุค Second Bustle ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ เสื้อรัดรูป การสวมกระโปรงแบบโครงหางกระรอก
การเริ่มต้นคอลเล็คชั่นนี้เริ่มด้วยการลงสีภาพโบราณด้วย AI แล้วจึงพัฒนาแบบจำลองทางภาพที่สะท้อนสไตล์ ลูกผสมระหว่างความหรูหราแบบตะวันตกและอัตลักษณ์แบบสยาม
องค์ประกอบแฟชั่นสำคัญในคอลเลกชัน
เสื้อบอดีซ์ (bodice)/เสื้อลูกไม้แบบตะวันตก
เสื้อบอดีซ์แบบตะวันตกถูกปรับให้เหมาะกับอากาศร้อน โดยใช้ผ้าสีอ่อน เช่น ผ้าไหมไทย ผ้าฝ้าย ลูกไม้ปักมือ และคาดว่ามีการสวมคอร์เซ็ตแบบตะวันตกสไบและโจงกระเบน
สไบ ยังคงสวมแบบดั้งเดิม คือพันรอบตัวแล้วพาดไหล่ซ้าย ส่วน โจงกระเบน ใช้แทนกระโปรงสุ่มแบบยุโรป โดยยังคงความสง่างามของซิลูเอตไว้ถุงเท้าและรองเท้า
สตรีราชสำนักสวม ถุงเท้าลูกไม้ปักลวดลาย คู่กับ รองเท้าหนังปิดส้นหรือรองเท้าส้นเตี้ย ซึ่งสะท้อนความหรูหราและความคล่องตัวอย่างไทยทรงผม “ดอกกระทุ่ม”
ผมตัดสั้น เรียบง่าย ไม่แต่งเติมมาก เรียกว่า “ทรงดอกกระทุ่ม” เป็นทรงผมหลักของสตรีฝ่ายในในช่วงนี้ สะท้อนความเรียบง่าย ทว่าเปี่ยมด้วยกิริยางามตามแบบไทย
บริบททางวัฒนธรรม: แฟชั่นในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน
แฟชั่นในยุคนี้มีความเกี่ยวพันโดยตรงกับบริบททางสังคมและการเมือง:
การปฏิรูปการปกครอง: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงริเริ่มการปฏิรูปด้านภาษีและการบริหาร ทำให้บทบาทของชนชั้นขุนนางเปลี่ยนแปลง
การเผยแพร่วิทยาการตะวันตก: การศึกษาภาษาต่างประเทศ วิชาการตะวันตก และวิทยาศาสตร์เริ่มถูกสถาปนาในหมู่ราชสำนัก
บทบาทสตรีในสังคมไทย: เจ้านายฝ่ายในทรงมีบทบาทในด้านการแพทย์ การศึกษา และการอนามัย ดังเช่น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีทรงดำรงตำแหน่งองค์สภาชนนีสภาอุณาโลมแดง อันเป็นชื่อแรกของสภากาชาดไทยเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งในต้นรัชกาลที่ 5
การทูตกับชาติตะวันตก: เครื่องแต่งกายกลายเป็น “ภาษา” ที่สยามใช้แสดงอารยธรรมและความก้าวหน้า เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศส
คอลเลกชัน AI นี้มีความหมายอย่างไร?
คอลเลกชันนี้มิใช่เพียงจินตนาการหรือแฟชั่นย้อนยุค แต่คือผลงานที่เกิดจากการ ศึกษา สังเคราะห์ และตีความทางประวัติศาสตร์ด้วยเครื่องมือ AI อย่างมีจริยธรรม โดยผสมผสานข้อมูลจริงจากภาพถ่ายและเครื่องแต่งกายตามแฟชั่นในอดีต แฟชั่นสามารถช่วยในการตีความและการศึกษา และยังเป็นเสมือน ภาษาของทั้งด้านการเมือง และวัฒนธรรม ได้อย่างงดงาม
Reviving the Silhouettes of Siam: Women’s Fashion in the Early Reign of King Chulalongkorn (1870s–1880s)
An AI-Enhanced Collection by AI Fashion Lab, London 2025
During the formative decades of King Chulalongkorn’s reign (Rama V, r. 1868–1910), Siam stood at the nexus of tradition and modernisation. The young monarch ascended the throne in the wake of his father King Mongkut's death in 1868, at a time when the kingdom was navigating the rising tide of Western colonial power and seeking to preserve sovereignty through diplomatic reform, administrative modernisation, and cultural evolution.
This transitional moment also gave birth to a distinct fusion of fashion in the royal court—an elegant convergence of Western silhouettes and Thai sensibilities—which is at the heart of this AI-generated fashion collection.
A New Visual Identity: Thai Court Dress as a Cultural Statement
In the 1870s, while Britain tightened its grip on Burma and the French began to assert dominance in Cambodia and Vietnam, Siam adopted a deliberate policy of modern diplomacy and controlled Westernisation. King Chulalongkorn was not only the first Thai monarch to travel abroad (visiting Singapore, Java, and British India in the early 1870s), but he also surrounded himself with a group of progressive nobles, the Young Siam faction, who supported administrative reform and centralisation.
Against this political backdrop, the visual presentation of the monarchy became a soft power tool. The royal court’s fashion, especially that of inner court women, evolved to reflect both the openness to Western ideas and a rootedness in Thai tradition. This shift was especially visible in the adaptation of Western-style blouses or bodices, worn with the traditional chong kraben and sabai.
AI and Fashion Archaeology: Reconstructing Lost Elegance
This collection was developed using LoRA-based AI models trained on:
Original black-and-white photographs of the queens of King Chulalongkorn—Queen Savang Vadhana, and Queen Saovabha Phongsri—sourced from the National Archives of Thailand.
Fashion references from European womenswear of the 1870s–1880s, especially the Second Bustle Era, characterised by tight-fitting bodices, elaborate sleeves, and lace trim.
Through AI-enhanced colourisation and stylised reinterpretation, these archival sources were brought to life as a visual experiment in cultural reconstruction, creating richly layered ensembles that blend Thai identity and European influence.
Key Fashion Elements in the Collection
The Bodice and Blouse
Thai inner court ladies adopted Western bodices but tailored them with local materials—Thai silk, cotton voile, lace, and embroidery. Unlike their European counterparts, these blouses were not worn over tight-laced corsets, reflecting tropical practicality and cultural preference for comfort.Sabai and Chong Kraben
The sabai continued to be worn in its full draped form, tied over the left shoulder and across the fitted blouse. The chong kraben, a wrapped lower garment, replaced Western skirts and bustles but echoed similar volume and movement, creating a hybrid silhouette.Stockings and Footwear
Embroidered stockings and flat shoes or heeled slippers reflected both Thai grace and a nod to Western refinement. Lace socks, delicate jewellery, and floral brooches added ornamental value without overwhelming the ensemble.Hairstyles
Court women typically wore the “dok krathum” style—short, cropped hair—an austere choice influenced by the court’s mourning and simplicity policies, especially after Queen Sunanda’s tragic death in 1880. This hairstyle stood in contrast to the voluminous Victorian chignons of Europe.
Cultural Transitions and National Identity
Fashion during this period was closely tied to larger cultural shifts:
Language and Administration: The royal court began adopting European diplomatic customs and legal structures, translating laws, and training noble children in foreign languages.
Art and Photography: Court painters and early photographers, like Francis Chit, documented royal attire, ceremonial dress, and official portraits—now crucial reference points for AI models and cultural historians alike.
Women’s Roles in Court: Queen Savang Vadhana and Queen Saovabha were influential figures in education and public health. Their visual presence in early photographs set a precedent for how Thai noblewomen would be portrayed in a modernising nation.
Colonial Threats: Siam’s fashion, like its policies, became a carefully curated response to colonialism. By appropriating European visual codes, the court reinforced its legitimacy and sophistication without conceding cultural identity.
The Significance of the AI Collection
This fashion collection is not a fantasy or cosplay—it is a visual historiography created using ethical AI tools to recover lost or imagined styles of a pivotal era in Thai history. These images offer speculative reconstructions of what inner court attire might have looked like if Western techniques and local tastes were further integrated.
Each image is a tribute to Siamese resilience, diplomacy, and adaptability, demonstrating how fashion served as a subtle yet powerful expression of national sovereignty.
#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #BurmeseFashionHistory #BurmeseFashionAI #flux #fluxlora
















