ภาพเล่าเรื่อง: เมื่อเจ้านายฝ่ายในถือกล้องท่องสยาม
ภาพเล่าเรื่อง: เมื่อเจ้านายฝ่ายในถือกล้องท่องสยาม
วันนี้ ผมได้รับภาพถ่ายหายากภาพหนึ่งจากผู้ติดตามเพจท่านหนึ่งครับ เป็นภาพขาวดำโบราณที่สันนิษฐานได้ว่าเป็นภาพของเหล่าสตรีในราชสำนักฝ่ายใน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ภาพจะมีคุณภาพต่ำ รายละเอียดเลือนรางแทบมองไม่เห็น แต่ก็ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งนัก ด้วยเทคโนโลยี AI สมัยใหม่ ผมจึงสามารถบูรณะและแต่งแต้มสีสันให้ภาพกลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยใช้ Flux Kontext สำหรับลงสี และ Magnific Enhancer เพื่อเพิ่มความชัดเจนและคุณภาพของภาพให้ดียิ่งขึ้น
สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดในภาพนี้—นอกเหนือจากคุณค่าทางประวัติศาสตร์—คือการที่เหล่าสตรีในวังแต่งกายด้วยหมวกทรง เฟโดร่าอย่างมีสไตล์ในขณะออกนอกเขตพระราชฐาน ซึ่งหาได้ยากนัก ภาพถ่ายในอดีตส่วนใหญ่มักถ่ายในสตูดิโอหรือภายในเขตวัง โดยที่สุภาพสตรีเหล่านั้นไม่ได้สวมหมวก แต่ภาพนี้สะท้อนให้เห็นว่าเจ้านายฝ่ายในกำลังเดินทางออกนอกเขตพระราชฐานอย่างงามสง่า พร้อมการแต่งกายที่งดงามและปกป้องแสงแดดได้อย่างมีรสนิยม
สิ่งที่ชวนให้ตั้งคำถามคือ สุภาพสตรีแต่ละคนต่างถือกล้องถ่ายรูปโบราณแบบศตวรรษที่ 19 ไว้ในมือ ซึ่งสื่อให้เห็นว่าพวกเธออาจมิใช่เพียงผู้ถูกถ่าย แต่ยังอาจเป็นผู้ถ่ายภาพเสียเอง ในยุคนั้นการถ่ายภาพยังเป็นศาสตร์ที่ซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ด้านแสง สารเคมี และเทคนิคการใช้แผ่นฟิล์มแก้ว ไม่ใช่แค่การกดปุ่มเพียงครั้งเดียว และด้วยระเบียบวังที่เคร่งครัด สตรีในราชสำนักคงไม่สามารถให้บุรุษถ่ายภาพให้ได้ จึงเป็นไปได้ว่าพวกเธอได้ฝึกฝนและลงมือถ่ายภาพด้วยตนเอง
ยิ่งไปกว่านั้น การออกนอกเขตพระราชฐานเช่นนี้ย่อมมีผู้ติดตามรับใช้คอยอำนวยความสะดวก รวมถึงผู้ที่ช่วยถือกล่องไม้พิเศษสำหรับเก็บแผ่นกระจกเนกาทีฟอย่างระมัดระวัง รายละเอียดเล็กน้อยนี้เองที่บอกให้เรารู้ว่า สุภาพสตรีเหล่านี้คือผู้มีฐานันดรสูงในราชสำนัก เป็นหญิงชั้นสูงที่มีทั้งโอกาส การศึกษา และการเข้าถึงเทคโนโลยีล้ำสมัยแห่งยุคสมัยนั้น
แทนที่จะแค่ลงสีภาพต้นฉบับอย่างเดียว ผมอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ จินตนาการถึงการเดินทางของเจ้านายฝ่ายในชุดนี้ ผ่านดินแดนสยามในศตวรรษที่ 19 ด้วยสายตาของนักถ่ายภาพหญิงในวัง
ผมจึงจัดองค์ประกอบภาพใหม่ พาพวกเหล่าเจ้ายายฝ่ายในไปเที่ยวชมสถานที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ วัดอรุณราชวราราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, พระราชวังบางประอิน, พระปรางค์สามยอดที่ลพบุรี, พระนารายณ์ราชนิเวศน์, และแม้กระทั่งขึ้นไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเยียม ปราสาทหิน อันเก่าแก่ จินตนาการเหล่านี้กลายเป็นเสมือน การเดินทางทัศนศึกษาเชิงแฟชั่นและวัฒนธรรม ของสตรีในราชสำนัก
ผมได้ลงสีเครื่องแต่งกายให้ตรงตามหลัก "สวัสดิรักษา" ซึ่งเป็นแนวทางการแต่งกายตามสีประจำวันในราชสำนัก โดยยึดตามขนบธรรมเนียมและระเบียบการแต่งกายของสตรีในวัง
และผมขอชวนเพื่อนๆร่วมสนุกด้วยกันครับ
ในภาพทั้งหมดนี้ มีอยู่ทั้งหมดคู่ห้าสี และต่างแต่งกายด้วยชุดที่ตรงกับ สีประจำวัน เพื่อนๆจำได้หรือไม่ว่าวันไหนต้องใส่สีอะไรครับ?
หากยังไม่แน่ใจ นี่คือแนวทางการแต่งกายตามแบบ "สวัสดิรักษา" จากวรรณกรรมเรื่อง สี่แผ่นดิน:
วันจันทร์ – นุ่งเหลืองอ่อน ห่มน้ำเงินอ่อน หรือบานเย็น
วันอังคาร – นุ่งสีปูน/ม่วงเม็ดมะปราง ห่มโศก หรือ นุ่งโศก ห่มม่วงอ่อน
วันพุธ – นุ่งสีถั่ว/สีเหล็ก ห่มจำปา
วันพฤหัสบดี – นุ่งเขียวใบไม้ ห่มแดงเลือดนก หรือ นุ่งแสด ห่มเขียวอ่อน
วันศุกร์ – นุ่งน้ำเงินแก่ ห่มเหลือง
วันเสาร์ – นุ่งเม็ดมะปราง/ผ้าลายพื้นม่วง ห่มโศก
วันอาทิตย์ – เหมือนวันพฤหัสฯ หรือ นุ่งผ้าลายพื้นสีลิ้นจี่/เลือดหมู ห่มโศก
เพื่อนๆ สามารถสังเกตได้จาก โจงกระเบน และ แพรสพาย ในแต่ละภาพ แล้วลองทายดูว่า ชุดใดตรงกับวันใดบ้างครับ?
Cameras, Colour, and Courtly Grace: A 19th-Century Travelogue
Today, I received a rare and precious photograph from one of the page’s followers. It’s an old black-and-white image, believed to depict ladies of the inner court during the reign of King Chulalongkorn (Rama V). Though the image quality is poor and most details barely visible, it holds immense historical value. Thanks to modern AI technology, I was able to restore and colourise the photograph—using Flux Kontext for colourisation and Magnific Enhancer to improve clarity and refine visual quality.
What’s most astonishing about this image—aside from its historical significance—is that these court ladies are seen wearing stylish fedora-style hats while out on an excursion. This is exceptionally rare. Most surviving photos from that era show women in studio settings or within the palace, often without hats. But this image captures them outdoors, dressed both elegantly and practically to shield themselves from the tropical sun in fashionable form.
Even more intriguing is the fact that each lady holds a 19th-century camera, suggesting they were not only being photographed—but were possibly the photographers themselves. At that time, photography was a sophisticated art requiring knowledge of light, chemistry, and glass-plate negatives. It wasn’t as simple as pressing a button. Moreover, strict court protocols likely meant these women couldn’t invite male photographers into their space. Therefore, it's plausible that they were trained and capable of operating the equipment on their own.
Furthermore, outings like these would have included attendants, one of whom likely carried a special wooden box to protect the delicate glass negatives. Such details reveal that these women were of high status within the royal court—educated, privileged, and granted access to the cutting-edge technology of their time.
Rather than simply colourising the original photo, I wanted to reimagine the lives and travels of these inner court ladies—through the lens of a woman photographer from the 19th century.
I reconstructed the scene, taking them on a visual journey to notable landmarks across Siam: Wat Arun, Prang Sam Yot in Lopburi, Phra Narai Ratchaniwet, Pang Pra-In Palace, Wat Ratchabophit, and even further northeast to visit an ancient stone prasat (temple castle). These imagined excursions became a kind of fashionable and cultural field trip—a voyage of courtly women brought to life through AI and imagination.
I colourised their garments based on the principles of “Sawasdiraksa”, a traditional royal dress code that assigns specific colour pairings to each day of the week, faithfully adhering to the customs and etiquette of courtly fashion.
Now, I’d like to invite you all to join in the fun.
In these enhanced images, there are five different colour pairings, each one representing a day of the week. Can you remember which colours go with which day?
Here’s a quick guide to the Sawasdiraksa system, as described in the Thai literary classic Four Reigns:
Monday – Pale yellow lower garment with light blue or magenta shoulder sash
Tuesday – Mauve or bluish-purple lower garment with dusky green sash; or dusky green lower garment with pale violet sash
Wednesday – Ash-grey or metallic lower garment with champa yellow sash
Thursday – Leaf green lower garment with deep red sash; or tangerine lower garment with pale green sash
Friday – Deep navy blue lower garment with yellow sash
Saturday – Mauve-patterned lower garment with dusky green sash
Sunday – Similar to Thursday; or crimson/pomegranate lower garment with dusky green sash
You can tell by observing the jong kraben (court-style trousers) and the sabai (shoulder cloth) in each photo.
Can you guess which ensemble corresponds to which day?
Let me know your thoughts in the comments. Let’s travel together—through time, fashion, and royal imagination.
#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI







































