งานราตรีสโมสรและเครื่องแต่งกายแบบพิธีการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ความรุ่งเรืองแห่งราชสำนักสยาม: งานราตรีสโมสรและเครื่องแต่งกายแบบพิธีการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คอลเลกชันนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากงานราตรีสโมสรของสตรีฝ่ายใน และเครื่องแต่งกายเต็มยศของข้าราชการและขุนนางฝ่ายหน้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นช่วงที่ราชสำนักสยามเริ่มมีการปรับเปลี่ยนไปสู่ความเป็นตะวันตกอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในด้านเครื่องแต่งกายในราชสำนัก เครื่องแบบทหาร และเครื่องแต่งกายแบบพิธีการ ทั้งนี้ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากจากการปรับปรุงประเทศสยามให้ทันสมัย โดยมีแบบอย่างจากราชสำนักอังกฤษและยุโรปอย่างชัดเจน
แฟชั่นของสตรีฝ่ายในแห่งราชสำนักสยามในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ราว พ.ศ. 2443–2453) เป็นการหลอมรวมอย่างงดงามระหว่างองค์ประกอบไทยดั้งเดิมกับความสง่างามแบบตะวันตกในยุคเอ็ดเวิร์ดเดียน เครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิม เช่น โจงกระเบน แพรสะพาย และเสื้อลูกไม้ ยังคงได้รับการรักษาไว้ แต่โครงสร้างเสื้อผ้า เทคนิคการตัดเย็บ และการเลือกใช้เนื้อผ้าเริ่มสะท้อนรสนิยมตะวันตกมากยิ่งขึ้น เสื้อราชสำนักมีการพัฒนาเป็นเสื้อลูกไม้หรือเสื้อผ้าฝ้ายเนื้อบางเบา เปิดคอกว้างขึ้น แขนเสื้อสามส่วน ได้แรงบันดาลใจจากรูปทรง “อกพอง” (Pigeon-Breast Silhouette) ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคเอ็ดเวิร์ดเดียน โทนสีที่ใช้เน้นความอ่อนหวาน เช่น สีงาช้าง ขณะเดียวกัน แพรสะพายก็ได้รับการพัฒนาให้เล็กลง และเบาบางมากขึ้น โดยนำเทคนิคการจับเดรปแบบชุดราตรียุโรปมาใช้ ทรงผมก็มีการปรับเปลี่ยน ทรงดอกกระทุ่มแบบดั้งเดิมได้รับการจัดแต่งให้พองและประณีตมากขึ้น คล้ายกับทรง Gibson Girl ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสตรีทันสมัยในยุคนั้น สตรีฝ่ายในยังตกแต่งด้วยเครื่องประดับ เช่น สร้อยไข่มุกหลายชั้น เข็มกลัดประดับอัญมณี และแถบคาดศีรษะ (bandeaux) ผสานเสน่ห์ของราชสำนักไทยกับความวิจิตรแบบตะวันตกได้อย่างลงตัว
สำหรับข้าราชการและขุนนางฝ่ายหน้า เครื่องแบบราชสำนักและเครื่องแบบทหารแบบตะวันตกกลายเป็นมาตรฐาน เครื่องแต่งกายเต็มยศของอังกฤษถือเป็นต้นแบบหลัก ประกอบด้วยเสื้อแจ็คเก็ตสูทแบบมีหางปักดิ้นทอง อินทรธนูทอง สายสะพาย และเหรียญตราแบบยุโรป สำหรับกางเกงกาง สามารถสวมเกงขายาวสีขาวหรือกางเกงขาสั้นเหนือเข่า พร้อมทั้งถุงนองยาวสีขาว เครื่องแต่งกายเหล่านี้ไม่เพียงแต่แสดงถึงยศศักดิ์และความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ แต่ยังสะท้อนภาพลักษณ์ของสยามในฐานะประเทศสมัยใหม่ที่ศิวิไลซ์ ภายใต้รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เครื่องแบบทหารยังคงพัฒนาต่อเนื่องตามต้นแบบอังกฤษและฝรั่งเศส โดยมีการใช้ชุด Mess Dress อินทรธนูทอง และหมวก bicorne อย่างแพร่หลาย
เครื่องแต่งกายราชสำนักในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีบทบาทเกินกว่าความงามเชิงพิธีการ หากแต่เป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย การทูต และความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ แม้ว่าจะเปิดรับอิทธิพลตะวันตก แต่ราชสำนักสยามยังคงรักษาความเป็นไทยผ่านงานปักทองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากลวดลายศิลปะไทย การเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงนับเป็นหลักฐานอันโดดเด่นที่สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินยุทธศาสตร์แห่งความทันสมัยควบคู่ไปกับการธำรงเอกลักษณ์ของชาติ ท่ามกลางกระแสจักรวรรดินิยมที่แผ่ขยายไปทั่วโลก
Splendour of the Siamese Court: Gala Evenings and Ceremonial Dress during the Reign of King Chulalongkorn
This collection is inspired by the evening galas of inner court ladies (ฝ่ายใน) and the full dress worn by male courtiers and officials (ฝ่ายหน้า) during the reign of King Chulalongkorn. During this period, the Siamese royal court underwent significant Westernisation, particularly in court attire, military uniforms, and ceremonial dress. Influenced by King Chulalongkorn’s vision to modernise Siam, court fashion reflected clear inspiration from British and European models.
The fashion of Siam’s inner court ladies during the late reign of King Chulalongkorn (c. 1900–1910) beautifully merged traditional Thai elements with Western Edwardian elegance. Traditional garments such as jong kraben, pha sabai, and sheer silk blouses were preserved, but the structure, tailoring, and fabric choices increasingly reflected Western tastes. Court blouses evolved into delicate lace or fine cotton garments with open necklines and three-quarter sleeves, influenced by the Edwardian "pigeon-breast" silhouette. Soft pastel tones such as ivory, light mauve, pale blue, and pink became fashionable. Meanwhile, pha sabai fabrics became lighter and more fluid, adopting draping styles reminiscent of European evening gowns. Hairstyles also modernised; the traditional dok krathum style became fuller and more intricate, echoing the Gibson Girl aesthetic. Pearl necklaces, jewelled brooches, and headbands (bandeaux) adorned the ladies, blending Thai tradition with European court fashion. Altogether, their attire was a cultural statement, showcasing both national identity and international sophistication.
For male courtiers and officials, Western military and civil uniforms became the standard. British full dress court uniforms served as the primary influence, including dark embroidered tailcoats, white trousers or breeches, gold epaulettes, sashes, and European-style medals. This attire symbolised not only personal rank and loyalty to the monarchy but also Siam’s emerging image as a modern, civilised nation. Under King Vajiravudh (Rama VI), military uniforms continued to evolve in line with British and French models, featuring mess dress, gold epaulettes, and bicorne hats.
Court attire in early twentieth-century Siam served far beyond ceremonial functions—it embodied modernity, diplomacy, and national pride. While embracing Western styles, Siamese court dress preserved traditional artistry, particularly in gold-embroidered designs inspired by Thai motifs. The transformation of court dress during the reigns of King Chulalongkorn and King Vajiravudh stands as a vivid testament to Siam’s graceful navigation between tradition and modernity in an era of global imperialism.
#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #BurmeseFashionHistory #BurmeseFashionAI #flux #fluxlora







































