พระฉายาลักษณ์หมู่ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกับกล้องถ่ายภาพ (พ.ศ. 2447)

พระฉายาลักษณ์หมู่ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกับกล้องถ่ายภาพ (พ.ศ. 2447)

ช่วงนี้ผมยังคงอยู่กับคอลเลกชันการลงสีภาพบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ที่ถ่ายคู่กับกล้องถ่ายรูปนะครับ เพราะเรื่องของการถ่ายภาพยุคต้นและแฟชั่นในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผมสนใจและถนัดเป็นพิเศษ ทั้งในแง่ของการศึกษาในระดับ post-graduate และในฐานะนักออกแบบเครื่องแต่งกาย (costume designer) ที่ทำงานอยู่ในลอนดอน

พระฉายาลักษณ์ใบนี้เป็นหนึ่งในภาพประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่ายิ่ง แสดงให้เห็นพระอิริยาบถของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอขณะทรงพระเยาว์ โดยแต่ละพระองค์ทรงถือกล้องถ่ายภาพที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานเป็นของขวัญองค์ละหนึ่งกล้อง ฉายร่วมกับพระประยูรวงศ์องค์เล็ก ณ ข้างเรือนต้น ภายในพระราชวังดุสิต ราวปี พ.ศ. 2447–2448

“พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อกล้องถ่ายภาพพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอองค์ละ 1 กล้อง”

จากซ้ายไปขวา ได้แก่:

1. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
2. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
4. หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่
5. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช

หากพิจารณาในเชิงเครื่องแต่งกาย จะเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ทรงฉลองพระองค์อย่างลำลองด้วยเสื้อราชประแตน สวมคู่กับกางเกงจีนด้วยผ้าที่ตัดเย็บจากผ้าฝ้ายหรือผ้าแพร และฉลองพระบาทหนังแบบตะวันตก อันเป็นรูปแบบการแต่งกายที่สะท้อนการผสมผสานระหว่างขนบไทยกับอิทธิพลวิถีชีวิตแบบวิกตอเรียนตอนปลายและเอ็ดเวิร์เดียนตอนต้นที่กำลังแพร่หลายในราชสำนักสยาม

รายละเอียดของภาพ

  • ชื่อภาพ: พระฉายาลักษณ์หมู่ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอขณะทรงพระเยาว์ฉายพร้อมกับกล้อง

  • ผู้สร้างสรรค์: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

  • ปีที่ถ่าย: พ.ศ. 2447

  • สถานที่ถ่าย: สยาม

  • ประเภท: ภาพถ่าย

  • ลิขสิทธิ์: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

  • เทคนิค: แผ่นฟิล์มกระจก

Group Portrait of Royal Princes with Cameras, ca. 1904

I’m currently continuing my work on a colourisation collection featuring historical figures photographed with early cameras. The intersection of early photography and fashion history has long been a particular area of interest and expertise for me—both in my postgraduate research and in my professional work as a costume designer based in London.

This image is a group portrait of several Siamese royal children, each photographed with a camera that had been personally gifted to them by King Chulalongkorn (Rama V). The photograph was likely taken beside the Ruean TonPavilion in Dusit Palace around 1904–1905 (R.S. 123–124), a period that reflects both the cultural modernisation of the Siamese court and the fascination with Western technology.

“King Chulalongkorn purchased cameras and gifted one to each of his sons.”

From left to right, the children pictured are:

  1. Mom Chao Amorn Somanalaksana Kitiyakorn

  2. Prince Prajadhipok (later King Rama VII)

  3. Prince Chudadhuj Dharadilok, the Prince of Phetchabun

  4. Mom Chao Sailathong Thongyai

  5. Prince Mahidol Adulyadej, the Prince Father of King Rama IX

  6. Prince Urubongs Rajsombhoj

In terms of costume, the young royals are dressed informally, wearing raj-pattern tunics paired with trousers made of cotton or Chinese silk, and leather shoes in the Western style. This ensemble reflects a hybrid court fashion during the late reign of King Chulalongkorn—a moment in which Western dress codes, camera technology, and local traditions coexisted in fascinating harmony.

Image Details

  • Title: Group portrait of royal princes with cameras

  • Creator: National Archives of Thailand

  • Date: c. 1904 (R.S. 123)

  • Location: Siam (Thailand)

  • Format: Photograph

  • Rights: National Archives of Thailand

  • Technique: Glass plate negative

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI

Previous
Previous

แฟชั่นสตรีล้านนาในสยามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1: เครื่องแต่งกายของสตรีล้านนาในช่วงต้นรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453–2458)

Next
Next

หนึ่งในเซลฟี่แรกของสยาม: พระบรมฉายาลักษณ์แบบหมู่และบริบทแฟชั่นสากลในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ตอนที่ 2)