หนึ่งในเซลฟี่แรกของสยาม: พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในนิตยสารฝรั่งเศส และบริบทแฟชั่นสากลในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

หนึ่งในเซลฟี่แรกของสยาม: พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในนิตยสารฝรั่งเศส และบริบทแฟชั่นสากลในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

บทความนี้สะท้อนแนวทางการวิเคราะห์ภาพถ่ายและประวัติศาสตร์แฟชั่นในเชิงสหวิทยาการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ทางวิชาการของผม ทั้งในระดับปริญญาโทด้าน Fashion History ที่ Royal College of Art และงานวิจัยระดับปริญญาเอกด้าน History of Photography and Fashion ที่ SOAS กรุงลอนดอน แม้จะศึกษาในระดับปริญญาเอกเพียงหนึ่งปี แต่แนวคิดเรื่องการตีความภาพและการสร้างอัตลักษณ์ผ่านแฟชั่นในบริบทยุคล่าอาณานิคมยังคงเป็นแกนกลางของการศึกษาและการสร้างสรรค์งานของผมอย่างต่อเนื่อง

ผมได้ลงสีภาพปกหน้าของ นิตยสารฝรั่งเศสรายเดือน Je sais tout ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2450 ซึ่งปรากฏ พระบรมฉายาลักษณ์ ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงถือกล้องถ่ายภาพแบบพับได้ โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็น หนึ่งในเซลฟี่แรกของสยาม ภาพนี้มิได้เป็นเพียงหลักฐานทางเทคโนโลยีภาพถ่าย หากแต่ยังสะท้อนถึงบทบาทของพระองค์ในฐานะผู้นำที่ทรงเข้าใจความหมายของภาพถ่ายและการถ่ายภาพ และใช้ภาพถ่ายเพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจและแสดงภาพลักษณ์แห่งความศิวิไลซ์แห่งสยามในสายตาชาวโลก

คำบรรยายใต้พระบรมฉายาลักษณ์ในนิตยสารระบุว่า


"Sa Majesté Paramindr Maha Chu-la Longkorn, Roi de Siam" พร้อมข้อความกล่าวถึงการเสด็จประพาสประเทศฝรั่งเศสโดยมิทรงเปิดเผยพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ

พระบรมฉายาลักษณ์นี้แสดงให้เห็นถึงพระบุคลิกอันทรงภูมิฐานในฉลองพระองค์แบบสุภาพบุรุษชาวยุโรป

พระองค์ทรงสวม เสื้อโค้ตยาวแบบฟร็อกโค้ต (frock coat) กระดุมสองแถว ทรงเลือกแบบที่ตัดเย็บอย่างประณีตตามแบบสากล พร้อม เสื้อกั๊ก (waistcoat) อันเป็นลักษณะเฉพาะของฟร็อกโค้ต ซึ่งนิยมกันในหมู่ชนชั้นสูงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เสริมด้วย ปกเสื้อแบบแข็งแบบอิมพีเรียล (imperial collar) และ เนกไทผ้าไหม ซึ่งสะท้อนความพิถีพิถันในรายละเอียด พระองค์ยังทรงสวมหมวกแบบ ฮอมเบิร์ก (homburg hat) ซึ่งเป็นหมวกทรงขอบมนที่มีรอยพับกลางและประดับด้วยริบบิ้นผ้ากรอสเกรน หมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมในหมู่สุภาพบุรุษชั้นสูงในอังกฤษหลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 นำกลับมาจากเมืองบาดฮอมเบิร์กในเยอรมนี

แม้หมวกฮอมเบิร์กจะพบได้บ่อยกับชุดสูทกลางวัน (lounge suit) แต่การสวมหมวกฮอมเบิร์กร่วมกับฟร็อกโค้ตก็ถือเป็นทางเลือกที่สง่างาม โดยเฉพาะในกลุ่มขุนนางและนักการทูตในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเอ็ดเวิร์เดียน ชุดนี้จึงเป็นภาพสะท้อนของแฟชั่นสุภาพบุรุษในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างโลกเก่าและโลกใหม่ ที่ยังคงเคารพธรรมเนียมเดิม ขณะเดียวกันก็แสดงถึงความทันสมัยและการปรับตัว

หมวกฮอมเบิร์กนั้นมีที่มาทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในระดับราชวงศ์ โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรทรงเป็นผู้ทรงเริ่มความนิยมหลังเสด็จประพาสเมืองบาดฮอมเบิร์กในประเทศเยอรมนี หมวกชนิดนี้มีลักษณะทรงอ่อน มีรอยพับกลาง และประดับริบบิ้นผ้าซาตินรอบฐาน ดูสุภาพสง่างามกว่าหมวกทรงแข็งอย่าง top hat จึงได้รับความนิยมในหมู่ขุนนาง นักการทูต และผู้มีบรรดาศักดิ์ เป็นเครื่องหมายของความสุขุม และอำนาจ

สำหรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเลือกสวมหมวกชนิดนี้จึงไม่ใช่เพียงเรื่องของรสนิยม หากแต่เป็นกลยุทธ์เชิงสุนทรียะ (strategic aesthetic) ที่สะท้อนพระวิสัยทัศน์ทางการทูต ในยุคที่คำว่า “ความศิวิไลซ์” ถูกนิยามโดยสายตาชาวตะวันตก การแต่งกายแบบตะวันตกมิใช่เพียงการเลียนแบบแฟชั่น แต่คือการแสดงตนของสยามในฐานะประเทศอารยะ มีความรู้เท่าทัน และยืนอยู่ในระดับสายตาเดียวกันกับชาติมหาอำนาจ ผ่านการใช้แฟชั่นเป็นภาษาทางการทูตเพื่อต้านแรงกดดันจากลัทธิล่าอาณานิคม

พระบรมฉายาลักษณ์นี้มีความน่าสนใจอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาในบริบทของการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์ใน พ.ศ. 2450 หลังจากเสด็จประพาสยุโรปอย่างเป็นทางการมาแล้วใน พ.ศ. 2440 การแต่งกายด้วยฉลองพระองค์แบบสากลจึงมิใช่เพียงความนิยม หากแต่เป็นการแสดงภาพลักษณ์แห่ง "อารยะประเทศ" ท่ามกลางแรงกดดันจากจักรวรรดินิยมตะวันตก

แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าพระองค์ทรงถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์นี้ด้วยพระองค์เองหรือไม่ แต่กล้องที่ทรงถืออยู่ในภาพเป็นแบบพับได้ ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ในยุคนั้น ทั้งยังสามารถตั้งกล้องและตั้งเวลาถ่ายภาพได้ จึงไม่เกินเลยนักที่จะตีความว่าภาพนี้อาจเป็น เซลฟี่ในยุคก่อนดิจิทัล ซึ่งแสดงถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีภาพถ่ายของพระองค์

แม้ประวัติศาสตร์การถ่ายภาพในสยามจะเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3 และมีการบันทึกภาพโดยช่างภาพต่างชาติหลายคนในรัชกาลที่ 4 แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงใช้กล้องถ่ายภาพด้วยพระองค์เองอย่างจริงจัง พระองค์เคยทอดพระเนตรการถ่ายภาพถ่ายฝีมือ จอห์น ทอมสัน (John Thomson) ช่างภาพชาวสก๊อต ซึ่งเดินทางเข้ามาบันทึกภาพในสยามระหว่างปี พ.ศ. 2408–2409 (ค.ศ. 1865–1866) ในช่วงนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ มีพระชนมพรรษาเพียง 12–13 พรรษา และทรงได้เห็นการถ่ายภาพและภาพถ่ายในสยามซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตและราชประเพณีจากมุมมองของชาวต่างชาติเป็นครั้งแรก

ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพถ่ายยังมีสถานะเป็นของล้ำค่าทางการทูต พระองค์พระราชทานภาพถ่ายแบบแด็กเกอเรอไทป์ (daguerreotype) แด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) และประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซแห่งสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ต่อมามีการส่งภาพถ่ายไปยังประธานาธิบดีเจมส์ บูแคนันใน พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) และในปีเดียวกันนั้นก็มีการส่งภาพถ่ายแบบอัลบูเมนพรินต์ (albumen print) ซึ่งใช้กระบวนการ wet-collodion ไปยังจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส และพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 แห่งวาติกัน ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือของช่างภาพชาวสยาม เช่น นายฟรานซิส จิตร การพระราชทานภาพถ่ายทางการทูตเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพระราชวิสัยทัศน์ในการใช้ภาพถ่ายเป็นสื่อทางการทูต เพื่อสื่อถึงความพยายามของสยามที่จะสื่อสารถึงความทันสมัยต่อจักรวรรดิตะวันตก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเติบโตมาท่ามกลางการตระหนักรู้ถึงพลังของภาพถ่ายในฐานะเครื่องมือทางการทูต การสร้างความทรงจำ และการวางตำแหน่งของสยามในเวทีระหว่างประเทศผ่านภาพถ่ายซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ของโลกในเวลานั้น

ดังนั้นพระบรมฉายาลักษณ์แบบเซลฟี่บนหน้านิตยสารของฝรั่งเศสฉบับนี้ จึงคาดว่าพระองค์ต้องการสื่อสารถึงภาพลักษณ์ของสยามในการเป็นประเทศที่น้อมรับความศิวิไลซ์แบบตะวันตก ด้วยฉลองพระองค์อันทรงภูมิฐาน พร้อมกับกล้องถ่ายภาพในพระหัตถ์ พระบรมฉายาลักษณ์นี้จึงมิได้เป็นเพียงภาพประวัติศาสตร์ แต่คือคำประกาศแห่งความพร้อมของสยามในการยืนอยู่ในสังคมโลกอย่างเสมอภาค ทั้งในแง่เทคโนโลยี วัฒนธรรม และอารยธรรม

One of the First Selfies of Siam: King Chulalongkorn's Royal Portrait on the Cover of a French Magazine and the Global Fashion Context of the Early 20th Century

This article reflects an interdisciplinary approach to interpreting photography and fashion history, drawn from my academic background — both at MA level at the Royal College of Art and during my PhD research in Southeast Asian Studies.

Although I pursued doctoral studies for only one year, the critical lens of image analysis and the role of fashion in constructing identity under colonial modernity has remained central to my research and creative practice.

I have colourised the front cover of the French monthly magazine Je sais tout dated 15 August 1907, which features a royal portrait of His Majesty King Chulalongkorn holding a folding camera — possibly one of the first selfies taken in Siam by a reigning monarch. This image is not merely a document of photographic technology but also a reflection of His Majesty's role as a sovereign who understood the power of visual media and employed it to record royal duties and represent Siam’s civilisation on the world stage.

The caption under the portrait reads:
“Sa Majesté Paramindr Maha Chiu-la Longkorn, Roi de Siam”, referring to the King's unofficial visit to France where His royal identity was not formally declared. The portrait reveals a strikingly modern yet stately figure, impeccably dressed in full European attire.

His Majesty wears a double-breasted frock coat, tailored to the highest standards of Western fashion, with a waistcoatvisible beneath the front panels — a classic element of this formal garment popular among the upper classes from the late 19th to early 20th century. He also wears an imperial collar and a silk tie, showing attention to sartorial detail, paired with a homburg hat, a formal felt hat with a central crease that became fashionable across Europe due to the influence of King Edward VII.

Although the homburg hat was more commonly worn with lounge suits, pairing it with a frock coat was a dignified and fashionable choice among aristocrats and diplomats during the transitional period into the Edwardian age. This ensemble reflects the shifting silhouette of modern masculinity — one that maintained traditional elegance while signalling adaptability to new global standards.

This royal portrait is all the more significant when considered within the context of His Majesty’s visit to Europe in 1907, a decade after his official tour in 1897. Wearing Western attire was not merely a personal preference but a deliberate act of self-fashioning: a visual statement that Siam was a modern, civilised state amid the pressure of Western imperialism.

While it is not certain whether the King took this photograph himself, the folding camera in His hand was a new technology at the time and could be used with a timer or remote shutter. It is therefore plausible to interpret this portrait as an early analogue “selfie”, demonstrating not only the King’s familiarity with photographic tools but also his active participation in modern image-making.

Although the history of photography in Siam dates back to the reign of King Rama III and flourished during the reign of King Rama IV through foreign photographers, King Chulalongkorn was the first Thai monarch to personally engage with photography. He had seen photographs taken by John Thomson, a British photographer who documented life in Siam between 1865–1866 (2408–2409 B.E.). At that time, the future King was still Prince Chulalongkorn, aged just 12–13 years old. He would have been exposed to photography not only as visual documentation but as a medium of international perception.

During the reign of his father, King Mongkut (Rama IV), photography was regarded as a diplomatic gift of high prestige. The King sent daguerreotype portraits to Queen Victoria in 1856 and to President Franklin Pierce of the United States in 1855. Later, in 1861, photographs were sent to President James Buchanan, and in the same year albumen prints made using the wet-collodion process were presented to Emperor Napoleon III of France and Pope Pius IX.

These diplomatic images, believed to have been taken by local photographers such as Francis Chit, reveal an early Siamese understanding of photography as an instrument of diplomacy — to assert Siam’s place in a modern world through cutting-edge technology.

King Chulalongkorn therefore grew up deeply aware of the power of photography as a tool of diplomacy, representation, and self-positioning within the global arena. The camera was not merely a Western invention — it became a strategic medium through which Siam negotiated its image and sovereignty in the face of colonial scrutiny.

Thus, this self-portrait of King Chulalongkorn featured on the cover of a French magazine may be interpreted as a deliberate act of self-representation — a visual statement intended to communicate Siam’s aspiration to be seen as a nation embracing Western civilisation.

Through His impeccably tailored attire, the modern folding camera held confidently in His hand, and His composed bearing, the image transcends mere historical documentation. It stands as a diplomatic and cultural proclamation of Siam’s readiness to engage with the modern world on equal terms — technologically, culturally, and civilisationally.

In this light, the image should not be viewed solely as a royal portrait, but as a carefully crafted symbol of sovereign identity and modernity, strategically circulated in an era of colonial pressure and global diplomacy.

#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI

Next
Next

ภาพเก่าเล่าเรื่อง: เจ้านายฝ่ายในกับกล้องถ่ายภาพยุคต้น (ตอนที่ 2)