ภาพเก่าเล่าเรื่อง: เจ้านายฝ่ายในกับกล้องถ่ายภาพยุคต้น (ตอนที่ 2)
ภาพเก่าเล่าเรื่อง: เจ้านายฝ่ายในกับกล้องถ่ายภาพยุคต้น (ตอนที่ 2)
เมื่ออาทิตย์ที่แลัว ผมได้รับภาพถ่ายหายากภาพหนึ่งจากผู้ติดตามเพจท่านหนึ่งครับ เป็นภาพขาวดำโบราณที่สันนิษฐานได้ว่าเป็นภาพของเหล่าสตรีในราชสำนักฝ่ายใน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ภาพจะมีคุณภาพต่ำ รายละเอียดเลือนรางแทบมองไม่เห็น แต่ก็ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งนัก ด้วยเทคโนโลยี AI สมัยใหม่ ผมจึงสามารถบูรณะและแต่งแต้มสีสันให้ภาพกลับมามีชีวิตอีกครั้ง
สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดในภาพนี้—นอกเหนือจากคุณค่าทางประวัติศาสตร์—คือการที่เหล่าสตรีในวังแต่งกายด้วยหมวกทรง เฟโดร่าอย่างมีสไตล์ในขณะออกนอกเขตพระราชฐาน ซึ่งหาได้ยากนัก ภาพถ่ายในอดีตส่วนใหญ่มักถ่ายในสตูดิโอหรือภายในเขตพระราชวัง โดยที่สุภาพสตรีเหล่านั้นไม่ได้สวมหมวก แต่ภาพนี้สะท้อนให้เห็นว่าเจ้านายฝ่ายในกำลังเดินทางออกนอกเขตพระราชฐานอย่างงามสง่า พร้อมการแต่งกายที่งดงามและปกป้องแสงแดดได้อย่างมีรสนิยม
สิ่งที่ชวนให้ตั้งคำถามคือ สุภาพสตรีแต่ละคนต่างถือกล้องถ่ายรูปโบราณแบบศตวรรษที่ 19 ไว้ในมือ ซึ่งสื่อให้เห็นว่าพวกเธออาจมิใช่เพียงผู้ถูกถ่าย แต่ยังอาจเป็นผู้ถ่ายภาพเสียเอง ในยุคนั้นการถ่ายภาพยังเป็นศาสตร์ที่ซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ด้านแสง สารเคมี และเทคนิคการใช้แผ่นฟิล์มแก้ว ไม่ใช่แค่การกดปุ่มเพียงครั้งเดียว และด้วยระเบียบวังที่เคร่งครัด สตรีในราชสำนักคงไม่สามารถให้บุรุษถ่ายภาพให้ได้ตลอดเวลา จึงเป็นไปได้ว่าสตรีฝ่ายในได้ฝึกฝนและลงมือถ่ายภาพด้วยตนเอง
ยิ่งไปกว่านั้น การออกนอกเขตพระราชฐานเช่นนี้ย่อมมีผู้ติดตามรับใช้คอยอำนวยความสะดวก รวมถึงผู้ที่ช่วยถือกล่องไม้พิเศษสำหรับเก็บแผ่นกระจกเนกาทีฟอย่างระมัดระวัง รายละเอียดเล็กน้อยนี้เองที่บอกให้เรารู้ว่า สุภาพสตรีเหล่านี้คือผู้มีฐานันดรสูงในราชสำนัก เป็นหญิงชั้นสูงที่มีทั้งโอกาส การศึกษา และการเข้าถึงเทคโนโลยีล้ำสมัยแห่งยุคสมัยนั้น
มีท่านผู้ติดตามให้ข้อสังเกตว่า บุคคลในภาพถ่ายขาวดำ อาจจะสามารถอนุมานได้ว่าเป็นกลุ่มของ "เจ้าจอมก๊ก อ." โดยเฉพาะเจ้าจอมเอิบ ผู้มีชื่อเสียงอย่างมากในการถ่ายรูป โดยเฉพาะรูปสตรีฝ่ายใน
แทนที่จะแค่ลงสีภาพต้นฉบับอย่างเดียว ผมอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ จินตนาการถึงการเดินทางของเจ้านายฝ่ายในชุดนี้ ผ่านดินแดนสยามในศตวรรษที่ 19 ด้วยสายตาของนักถ่ายภาพหญิงในวัง
ผมจึงจัดองค์ประกอบภาพใหม่ ให้เหล่าเจ้านายฝ่ายในถ่ายรูปในพระบรมมหาราชวัง จินตนาการเหล่านี้กลายเป็นเสมือน การศึกษาเชิงแฟชั่นและวัฒนธรรม ของสตรีในราชสำนัก
ผมได้ลงสีเครื่องแต่งกายให้ตรงตามหลัก "สวัสดิรักษา" ซึ่งเป็นแนวทางการแต่งกายตามสีประจำวันในราชสำนัก โดยยึดตามขนบธรรมเนียมและระเบียบการแต่งกายของสตรีในวัง
และผมขอชวนเพื่อนๆร่วมสนุกด้วยกันครับ
ในภาพทั้งหมดนี้ มีอยู่ทั้งหมดคู่ห้าสี และต่างแต่งกายด้วยชุดที่ตรงกับ สีประจำวัน เพื่อนๆจำได้หรือไม่ว่าวันไหนต้องใส่สีอะไรครับ?
หากยังไม่แน่ใจ นี่คือแนวทางการแต่งกายตามแบบ "สวัสดิรักษา" จากวรรณกรรมเรื่อง สี่แผ่นดิน:
* วันจันทร์ – นุ่งเหลืองอ่อน ห่มน้ำเงินอ่อน หรือบานเย็น
* วันอังคาร – นุ่งสีปูน/ม่วงเม็ดมะปราง ห่มโศก หรือ นุ่งโศก ห่มม่วงอ่อน
* วันพุธ – นุ่งสีถั่ว/สีเหล็ก ห่มจำปา
* วันพฤหัสบดี – นุ่งเขียวใบไม้ ห่มแดงเลือดนก หรือ นุ่งแสด ห่มเขียวอ่อน
* วันศุกร์ – นุ่งน้ำเงินแก่ ห่มเหลือง
* วันเสาร์ – นุ่งเม็ดมะปราง/ผ้าลายพื้นม่วง ห่มโศก
* วันอาทิตย์ – เหมือนวันพฤหัสฯ หรือ นุ่งผ้าลายพื้นสีลิ้นจี่/เลือดหมู ห่มโศก
เพื่อนๆ สามารถสังเกตได้จาก โจงกระเบน และ แพรสพาย ในแต่ละภาพ แล้วลองทายดูว่า ชุดใดตรงกับวันใดบ้างครับ?
Through the Lens of the Inner Court: Rediscovering Siam in Vintage Photographs (Part 2)
Last Sunday, I received a rare photograph from one of the followers of this page. It’s an old black-and-white image believed to depict women of the Inner Court during the reign of King Chulalongkorn (Rama V). Although the photograph is of low quality, with barely discernible details, it holds immense historical value. With the aid of modern AI technology, I was able to restore and add colour to breathe new life into it.
What’s most remarkable about this image—aside from its historical significance—is that these royal women are stylishly wearing fedora hats while outside the palace grounds, a sight rarely captured. Most old photographs were typically taken in studios or within the palace itself, where these noblewomen were often not seen wearing hats. This image reflects the grace and elegance with which the Inner Court ladies ventured beyond the palace, dressed tastefully and protectively against the sun.
What raises the most fascinating question is this: each woman in the photo holds a 19th-century camera, suggesting they may not have been merely the subjects of the photograph, but also the photographers themselves. At that time, photography was a complex craft, requiring knowledge of lighting, chemistry, and the technique of using glass plate negatives—not simply the press of a button. Given the strict court etiquette, it would not have been easy for men to photograph these women regularly. It is therefore plausible that the ladies of the Inner Court were trained and took their own photographs.
Moreover, such excursions beyond the palace would have required attendants to assist them—perhaps even carrying the special wooden boxes used to store glass negatives with great care. These subtle details reveal that the women in the image were of high rank within the royal household—noblewomen with access to education, modern technology, and opportunities rarely afforded to others at the time.
One follower of this page also made an interesting observation: the women in the photograph might possibly belong to the household of Chao Chom Kok A., especially Chao Chom Eab, who was renowned for her photography, particularly her portraits of Inner Court women.
Rather than simply colourising the original image, I would like to invite everyone to imagine the journey of these royal women as they explored 19th-century Siam through the lens of a female palace photographer.
So, I reimagined the composition of the image—placing these noblewomen within the Grand Palace grounds. This imaginative exercise has become a kind of fashion and cultural study of royal women in that era.
I’ve coloured their attire following the principles of “Sawatdiraksa”, the royal tradition of dressing according to auspicious colours of the day. This was based on long-standing customs and court dress codes for palace women.
Now, I invite all of you to join in the fun.
There are five colour pairs represented in these images, each corresponding to a specific day of the week. Can you recall which colour goes with which day?
If you're unsure, here’s a guide to Sawatdiraksa-style dress as described in the Thai literary classic Four Reigns (Si Phaendin):
Monday – Light yellow jong kraben with light blue or magenta pha sabai
Tuesday – Mauve or plum-coloured jong kraben with dusky pink pha sabai, or vice versa
Wednesday – Pea green or iron-grey jong kraben with champaca-yellow pha sabai
Thursday – Leaf green jong kraben with crimson pha sabai, or orange jong kraben with pale green pha sabai
Friday – Dark blue jong kraben with yellow pha sabai
Saturday – Plum-coloured or purple-patterned jong kraben with dusky pink pha sabai
Sunday – Same as Thursday, or a jong kraben with a lychee or burgundy base and dusky pink pha sabai
You can identify them by looking at the jong kraben (traditional wrap trousers) and pha sabai (shoulder cloth) in each photo—then try guessing which outfit corresponds to which day!
#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI









