บทบาทแห่งเครื่องแบบทหาร: พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (พ.ศ. 2440)
บทบาทแห่งเครื่องแบบทหาร: พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (พ.ศ. 2440)
หนึ่งในพระบรมฉายาลักษณ์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ คือภาพถ่ายร่วมกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย ซึ่งถ่ายไว้ ณ ราชสำนักเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภาพนี้มิใช่เพียงบันทึกเหตุการณ์แห่งสัมพันธไมตรีระหว่างสยามกับรัสเซียเท่านั้น หากยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทของการแต่งกายและพระบรมราชานุภาพที่ทรงสื่อสารออกไปต่อโลกตะวันตก โดยเฉพาะในบริบทของยุคล่าอาณานิคมที่จักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างมากในภูมิภาคเอเชียช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐
ในภาพ ทั้งสองพระองค์ประทับนั่งบนเก้าอี้ประดับทอง รายล้อมด้วยกระถางต้นปาล์ม ฉากหลังเป็นผนังที่เรียบง่ายไม่มีการตกแต่ง—แตกต่างจากภาพถ่ายราชสำนักทั่วไปที่มักเน้นความหรูหราโอ่อ่า ฉากหลังอันเรียบง่ายนี้เน้นให้เห็นฉลองพระองค์และพระอิริยาบถของกษัตริย์ทั้งสองอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องแบบทหารที่มิได้ใช้เพียงในฐานะเครื่องแต่งกายทางพิธี แต่เป็นเครื่องมือทางการเมืองและการทูตที่เปี่ยมด้วยความหมาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารแบบเต็มยศ ตกแต่งด้วยเครื่องหมายและเหรียญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามแบบแผนเครื่องแบบทหารตะวันตกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่พระอุระเบื้องขวาทรงประดับดวงตราเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งเป็นเหรียญเครื่องราชอิสริยาภรณ์เกียรติยศสูงสุดของรัสเซียที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในการเสด็จประพาสในครั้งนี้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชิ้นนี้แสดงถึงสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศจากรัสเซีย เมื่อวางเคียงคู่กับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสยาม ยิ่งเน้นให้เห็นเจตจำนงในการแสดงออกถึงอธิปไตยของสยามในฐานะรัฐชาติสมัยใหม่ที่เท่าเทียมกับมหาอำนาจยุโรป
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารรัสเซีย ประกอบด้วยเสื้อคลุมกระดุมสองแถว คอตั้งติดกระดุมแน่น ทรงรองเท้าบู๊ตหนังขัดเงา พร้อมหมวกแก๊ปทหาร องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนแสดงถึงอัตลักษณ์ของราชวงศ์โรมานอฟ พระอิริยาบถที่เป็นกันเองและฉากหลังอันเรียบง่ายแสดงถึงความเป็นมิตร และ—ที่สำคัญ—ยังเป็นสัญญาณว่า พระมหากษัตริย์แห่งสยามได้รับการยอมรับในฐานะประมุขที่เสมอภาค มิใช่เจ้าชายแห่งตะวันออกที่ต่ำศักดิ์กว่า
ภาพถ่ายนี้ได้รับการตีพิมพ์ปนหน้าปกของนิตยสารฝรั่งเศสชื่อดัง L’Illustration ซึ่งช่วยตอกย้ำสถานะและความสำคัญของเหตุการณ์ดังกล่าว ในโลกที่สื่อสิ่งพิมพ์กำหนดกระแสความคิดของสาธารณชน ภาพของกษัตริย์ชาวเอเชียประทับเคียงคู่จักรพรรดิยุโรปถือเป็นสิ่งแปลกใหม่และพลิกแนวคิดเชิงจักรวรรดินิยมดั้งเดิม การปรากฏตัวของพระองค์ในสื่อเช่นนี้ไม่เพียงบันทึกเหตุการณ์ แต่ยังเป็นเวทีที่แสดงให้เห็นว่า สยามได้เข้าสู่เวทีการเมืองระหว่างประเทศอย่างภาคภูมิ
สิ่งที่ทำให้ภาพนี้โดดเด่นในประวัติศาสตร์แฟชั่น คือ พลังของเครื่องแต่งกายในฐานะตัวแทนแห่งอำนาจทางการเมือง ไม่ใช่เป็นเพียงเสื้อผ้า แต่เป็นเสื้อผ้ามีบทบาทในเชิงนโยบายและอัตลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกเครื่องแบบทหารตะวันตกที่ถูกดัดแปลงให้เข้ากับรูปแบบของสยาม พร้อมประดับเหรียญตราของสยามและรัสเซีย จนกลายเป็นอัตลักษณ์การแต่งกายแบบผสมผสาน (hybrid sartorial identity) ที่เชื่อมโลกตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน
ผลลัพธ์ทางการทูตก็ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมในระหว่างการเสด็จเยือนกรุงปารีส เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เฟลิกซ์ โฟร์ (Félix Faure) ได้ร่วมขบวนรถพระที่นั่งไปส่งถึงที่ประทับ ซึ่งถือเป็นพระเกียรติยศสูงสุดที่ก่อนหน้านี้สงวนไว้เฉพาะสำหรับจักรพรรดิรัสเซียเท่านั้น การต้อนรับอันยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเข้าเฝ้าพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งแสดงออกอย่างชัดเจนว่าสยามมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับรัสเซียในฐานะประเทศมหาอำนาจที่มิใช่อาณานิคมของใคร
บริบททางการเมืองขณะนั้นยังสะท้อนถึงความตึงเครียดที่ตกค้างจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เมื่อสยามกับฝรั่งเศสเกิดข้อพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง การที่พระมหากษัตริย์แห่งสยามได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพระเจ้าซาร์จึงส่งผลให้ฝรั่งเศสไม่อาจแสดงท่าทีแข็งกร้าวได้มากนัก ทั้งยังเกรงพระบารมีของพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงในหมู่ประเทศยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบันทึกเรื่องนี้ไว้ในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระราชินีเสาวภาผ่องศรีว่า การต้อนรับอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ มิได้เกิดจากความหวาดเกรงในพระองค์เอง แต่เป็นเพราะประธานาธิบดีฝรั่งเศสยำเกรงต่อพระราชอำนาจของพระเจ้าซาร์ ที่พระองค์ได้ประจักษ์ด้วยพระองค์เองในคราวเสด็จเยือนรัสเซียก่อนหน้านี้
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์กับพระเจ้าซาร์ และสิ่งที่ภาพนั้นสื่อออกไป จึงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนทัศนคติของมหาอำนาจยุโรปที่มีต่อสยาม โดยแสดงให้เห็นว่าสยามเป็นรัฐอธิปไตยที่ได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิในยุโรป มิใช่ประเทศที่เปิดรับอิทธิพลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงลำพัง
ภายหลังจากเสด็จกลับสู่พระนคร พระบรมฉายาลักษณ์ทางการของพระองค์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ล้วนเป็นภาพที่ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารตะวันตก ทั้งกองทัพเรือและกองทัพบก ซึ่งเป็นภาษาทางภาพที่ทรงใช้ในการตอกย้ำอัตลักษณ์ความเป็นรัฐชาติของสยาม และสถานะของพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชอำนาจในการนำพาชาติให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคม การสื่อสารด้วยเครื่องแบบทหารและพิธีการแบบตะวันตกเช่นนี้ กลายเป็นรากฐานสำคัญของการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 (Chakkri Reformation) ที่มุ่งเสริมสร้างความมั่นคงของรัฐ ยืนยันเอกราชของชาติ และวางแนวทางของการทูตสมัยใหม่ในเวทีระหว่างประเทศ
หนึ่งในยานพาหนะที่สำคัญที่สุดในการเสด็จประพาสยุโรปของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ คือ เรือพระที่นั่งมหาจักรี เรือกลไฟแบบเรือลาดตระเวนสมัยใหม่ ที่มิได้เป็นเพียงเรือพระที่นั่งประจำพระองค์ หากแต่ยังเป็น "สถานทูตลอยน้ำ" ที่สะท้อนพระราชอำนาจและความทันสมัยของราชอาณาจักรสยามในปลายศตวรรษที่ ๑๙
เรือลำนี้ต่อขึ้นที่เมืองลีธ ประเทศสกอตแลนด์ โดยบริษัท ราเมจ แอนด์ เฟอร์กูสัน ภายใต้การดูแลของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ พระยาชลยุทธโยธินทร์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ตัวเรือเป็นเหล็กกล้า มีปล่องไอน้ำ ๒ ปล่อง และขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ำทันสมัย พร้อมห้องพระบรรทมและห้องรับรองอย่างราชสำนักตะวันตก
ตลอดรัชกาลที่ ๕ เรือพระที่นั่งมหาจักรีถูกใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินทั้งภายในประเทศ เช่น เกาะสีชัง และต่างประเทศ เช่น ชวา (พ.ศ. ๒๔๓๙) ยุโรป (พ.ศ. ๒๔๔๐ และ ๒๔๕๐) สิงคโปร์ (พ.ศ. ๒๔๔๕) รวมถึงใช้รับรองราชอาคันตุกะจากนานาประเทศ
การเดินทางไปยุโรปในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ก็ทรงใช้เรือพระที่นั่งมหาจักรีในการเสด็จฯ ตลอดเส้นทาง ผ่านคลองสุเอซจนถึงยุโรป เป็นการประกาศพระเกียรติยศแห่งพระมหากษัตริย์ไทยผู้เสด็จเข้าเฝ้าจักรพรรดิและพระราชาธิบดีแห่งโลกตะวันตกในฐานะเท่าเทียม
เรือพระที่นั่งมหาจักรีลำแรกปลดระวางในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ และขายให้บริษัท กาวาซากิ โกเบ โดยเว้นเฉพาะเครื่องจักร ซึ่งนำไปใช้ในการสร้างเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สองในรัชกาลที่ ๖ ต่อมาเป็น เรือหลวงอ่างทอง (ลำที่ ๑) ซึ่งถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
หมายเหตุ: ภาพถ่ายที่นำเสนอในที่นี้ผ่านการลงสีด้วย AI โดยอาศัยจินตนาการทางศิลปะ (artistic licence) สีของเครื่องแบบ เหรียญตรา และฉากหลังอาจไม่ตรงกับต้นฉบับในประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง แต่เป็นการสร้างสรรค์เพื่อการศึกษาและการอนุรักษ์ความเข้าใจทางวัฒนธรรมในรูปแบบร่วมสมัย
The Power of Military Uniforms: The Double Portrait of King Chulalongkorn and Tsar Nicholas II (1897)
One of the most historically significant royal portraits from King Chulalongkorn’s first European tour in 1897 is his double portrait with Tsar Nicholas II of Russia, taken at the Russian Imperial Court in St. Petersburg. This image is more than a record of friendly diplomatic relations between Siam and Russia—it illustrates how the Thai monarch used dress and sovereign authority to communicate with the West, particularly in the context of late 19th and early 20th century colonial expansion, during which the British and French empires exerted significant influence in Asia.
In the portrait, both monarchs are seated on gilded chairs, surrounded by potted palm trees. The backdrop is a simple, undecorated wall—distinct from the ornate settings typical of court portraiture. This minimalist background draws attention to the attire and bearing of the two sovereigns, especially their military uniforms, which were not merely ceremonial garments but politically symbolic instruments of diplomacy.
King Chulalongkorn wears a full military dress uniform, adorned with insignia and royal decorations in accordance with Western military fashion of the late 19th century. Prominently displayed on the right side of his chest is the Order of St. Andrew, the highest order of chivalry in Russia, bestowed upon him by Tsar Nicholas II during this visit. This Russian honour, when placed alongside Siamese decorations, reinforced the King’s intent to present Siam as a modern, sovereign nation equal in standing to the European powers.
Tsar Nicholas II appears in a Russian military uniform: a double-breasted tunic with a high fastened collar, polished leather boots, and a military peaked cap. These elements expressed the identity of the Romanov dynasty. The Tsar’s relaxed posture and the modest setting convey a sense of cordiality and, more importantly, a message of equality—portraying the King of Siam not as a lesser Eastern prince but as a sovereign peer.
This portrait was published on the cover of the renowned French magazine L’Illustration, reinforcing its diplomatic impact. In an era when the press helped shape public opinion, an image of an Asian king seated alongside a European emperor represented a striking and progressive break from imperial norms. The photograph did more than record a meeting—it staged Siam’s arrival on the global diplomatic stage.
What makes this portrait exceptional in the history of fashion is its demonstration of clothing as an expression of political power. These garments were not passive costumes but active symbols of policy and identity. King Chulalongkorn’s decision to wear a Western military uniform modified to suit Siamese aesthetics, decorated with both Siamese and Russian medals, created a hybrid sartorial identity that bridged East and West.
This diplomatic strategy bore tangible fruit. On 11 September 1897, during his visit to Paris, King Chulalongkorn was formally received by Félix Faure, President of the French Republic. Faure personally accompanied the King in the presidential carriage to his residence—an honour previously reserved only for the Emperor of Russia. This exceptional reception followed the King’s earlier audience with Tsar Nicholas II in St. Petersburg, a gesture that signalled Siam’s close ties with Russia, a major European power outside the colonial sphere.
At the time, tensions remained from the Paknam Incident of 1893 (R.S. 112), a conflict between Siam and France over territory on the east bank of the Mekong River. The warm reception from Tsar Nicholas II strengthened Siam’s diplomatic standing and made it difficult for France to adopt an aggressive posture. French deference to the Russian monarch, who held considerable influence in European affairs, was clear. In a personal letter to Queen Saovabha Phongsri, King Chulalongkorn noted that the lavish reception in Paris was not out of fear of him, but because the French President held great respect for the authority of the Tsar, having witnessed it firsthand during a prior visit to Russia.
Thus, the double portrait—and what it communicated—played an instrumental role in shifting the attitudes of European powers towards Siam. It made visible that Siam was a recognised sovereign state with imperial legitimacy, not a nation waiting to fall under colonial rule.
After returning to Siam, King Chulalongkorn’s official portraits in the early 20th century consistently depicted him in full Western military uniform—both army and navy. This visual strategy helped reinforce Siam’s national identity and the role of the monarch as a modern ruler committed to the defence and independence of the kingdom. Military dress and European protocol became visual tools of diplomacy, laying the foundation for the Chakri Reformation, which aimed to strengthen state institutions, protect national sovereignty, and modernise Siam’s role on the international stage.
The Royal Yacht Maha Chakri: A Floating Embassy of the Modern Siamese Monarchy
One of the most important royal vessels in King Chulalongkorn’s journey to Europe in 1897 was the Royal Yacht Maha Chakri—a modern steam-powered cruiser that served not only as his private royal transport, but also as a floating symbol of Siam’s sovereignty and modernity at the end of the 19th century.
The vessel was commissioned from Ramage & Ferguson in Leith, Scotland, under the supervision of Prince Damrong Rajanubhab and Phraya Chonlayut Yothin, and completed in 1892 (R.S. 111). Built from steel, the ship featured two smokestacks, steam-powered engines, and Western-style royal apartments, including a state cabin and reception rooms decorated in the style of a European court.
Throughout the reign of King Chulalongkorn, the Maha Chakri was used for royal visits within Siam—such as to Ko Sichang—and abroad, including voyages to Java (1896), Europe (1897 and 1907), and Singapore (1902). It also served as a reception venue for foreign dignitaries, projecting the image of Siam as a sovereign state with its own naval and diplomatic presence.
For the 1897 European tour, the King travelled aboard the Maha Chakri via the Suez Canal. The voyage itself became a performance of prestige—showcasing a modern Asian monarch visiting emperors and kings of the West on equal footing.
The first Maha Chakri was decommissioned in 1916 and sold to Kawasaki Dockyard in Kobe, Japan. Its machinery was retained and reused in the construction of a second Maha Chakri during the reign of King Vajiravudh (Rama VI), which was later renamed HTMS Angthong (I) and destroyed during World War II.
Note: The colourised images presented here were enhanced using AI and artistic licence. The colours of uniforms, medals, and backgrounds may not match their historical originals. These images are intended as creative interpretations to support education and cultural preservation.
#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI








