พระบรมฉายาลักษณ์คู่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พุทธศักราช 2411
พระบรมฉายาลักษณ์คู่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พุทธศักราช 2411
**บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของผมในหัวข้อ “การเมืองของเครื่องแต่งกาย” (Politics of Dress) ที่ Royal College of Art ณ กรุงลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2558
และเพื่อประกอบบทความนี้ ผมได้ลงสีพระบรมฉายาลักษณ์ต้นฉบับด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านสามารถเข้าถึงและตีความได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
พระบรมฉายาลักษณ์คู่เต็มพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ซึ่งถ่ายโดยฟรานซิส จิตร เมื่อพุทธศักราช 2411 ถือเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุดของทั้งสองพระองค์ และยังเป็นพระบรมฉายาลักษณ์เพียงหนึ่งเดียวที่ทรงยืนเคียงกันอย่างเป็นทางการ นักวิชาการหลายท่านอธิบายภาพนี้ว่าเป็น “การประกาศสิทธิในการสืบราชสันตติวงศ์ผ่านพระบรมฉายาลักษณ์” (visaul procalmation) ที่มีพลังในการยืนยันสิทธิแห่งการสืบราชสันตติวงศ์ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ อย่างไรก็ตาม ภายใต้การตีความเชิงสัญลักษณ์เช่นนี้ รายละเอียดของเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับต่างๆที่ปรากฏในภาพมักถูกมองข้าม ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้—โดยเฉพาะเครื่องแบบทหารฝรั่งเศสและพระแสงดาบพระราชทาน—มีบทบาทเชิงการเมืองที่ลึกซึ้งกว่าที่เห็น ช่วยยืนยันความชอบธรรมของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์อย่างชัดเจนผ่านสัญลักษณ์ที่ปรากฏในภาพ
เครื่องแบบฝรั่งเศสที่ทั้งสองพระองค์ทรงฉลองพระองค์นั้น เป็นของขวัญทางการทูตจากราชทูตฝรั่งเศสซึ่งมีหลุยส์ ชาร์ล เดอ มงตินญี (Louis Charles de Montigny) เป็นหัวหน้าคณะราชทูตในพุทธศักราช 2399 แม้เครื่องแบบเหล่านี้จะไม่ใช่เครื่องแบบทหารที่มียศหรือสังกัดชัดเจน แต่การเลือกนำมาใช้ในการฉายพระบรมฉายาลักษณ์นี้ ก็สะท้อนนัยยะทางสัญลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญ ต่อมาในพุทธศักราช 2406 จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 และพระโอรส เจ้าชายนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ยังได้พระราชทานดาบพิธีแบบฝรั่งเศสแก่ทั้งสองพระองค์ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือทางการทูตที่สื่อถึงเจตนาดีและอำนาจของฝรั่งเศสที่ประทับอยู่บนพระวรกายของราชวงศ์สยามโดยตรง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดับเหรียญตราดาราของเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ (Légion d’Honneur) อันทรงเกียรติสูงสุดของฝรั่งเศส ซึ่งจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ถวายแด่พระองค์ในปีเดียวกัน ขณะที่ทั้งพระองค์และเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ยังทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ของสยามร่วมด้วย เพื่อยกระดับพระเกียรติยศให้สูงขึ้นอีกชั้น ของถวายเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงการแลกเปลี่ยนเกียรติยศระหว่างราชสำนักสยามและฝรั่งเศสในลักษณะของการทูต ซึ่งของขวัญได้กลายเป็นถ้อยแถลงเชิงการเมืองที่มีอำนาจในตนเอง
ภายใต้แนวคิดว่าด้วยการให้ของขวัญของมาร์เซล โมส์ (Marcel Mauss) การแลกเปลี่ยนครั้งนี้สะท้อนวัฏจักรสามประการของการให้และการรับของขวัญ ได้แก่ หนึ่ง การให้ของขวัญ (เพื่อแสดงถึงความเอื้อเฟื้อและความน่าเคารพ) สอง การรับของขวัญ (เพื่อแสดงความเคารพตอบต่อผู้ให้) และสาม การตอบแทนของขวัญ (เพื่อรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีให้สมดุลกับผู้ให้เดิม) วัฏจักรศีลธรรมทางการทูตนี้เห็นได้ชัดเจนระหว่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และจักรพรรดิฝรั่งเศส ซึ่งต่างก็ปฏิบัติตามพันธะดังกล่าว การที่พระองค์ทั้งสองทรงฉลองพระองค์ ติดเหรียญตรา และถือพระแดงดาบในพระบรมฉายาลักษณ์ฉายาลักษณ์นี้ ล้วนแล้วแต่ช่วยตอกย้ำถึงความเคารพซึ่งกันและกันและการวางตำแหน่งทางการเมืองร่วมกันอย่างแน่นแฟ้น
การเลือกฉลองพระองค์ของทั้งสองพระองค์จึงมิใช่เรื่องบังเอิญ หากแต่ด้วยความตั้งพระทัย ด้วยการทรงพระมาลาแบบนาวิกโยธิน (bicorn hat) ฉลองพระบาทบู๊ตสูง และเครื่องแบบที่ตัดเย็บในรูปแบบกองทัพเรือยุโรป ทั้งสองพระองค์จึงปรากฏในภาพที่สื่อถึงความเป็นพระมหากษัตริย์แบบยุโรปอย่างสมบูรณ์ ตลอดศตวรรษที่ 19 พระมหากษัตริย์ในทวีปยุโรปนิยมฉลองพระองค์ด้วยเครื่องแบบทหารในงานราชพิธี แม้มิได้ผ่านศึกสงครามจริงก็ตาม แนวโน้มนี้ได้รับอิทธิพลจากพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งการฉลองพระองค์เช่นนี้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงอำนาจและความชอบธรรมในทางสายตา ฉะนั้น หลักการเดียวกันนี้จึงถูกนำมาใช้ในรูปถ่ายต่างๆของราชวงศ์ด้วยเช่นกัน
ในบริบทนี้ ตำแหน่งรัชทายาทของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์จึงได้รับการรับรองผ่านพระบรมฉายาลักษณ์จากจักรวรรดิที่มีอิทธิพลมากที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรปอย่างชัดเจน เครื่องแบบและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทรงฉลองพระองค์และประดับพระวรกาย ไม่ได้มีเพียงบทบาทในการเสริมพระเกียรติเท่านั้น หากยังเป็นหลักฐานแสดงถึงการสนับสนุนจากฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายทางการเมืองอย่างชัดเจน พระบรมฉายาลักษณ์นี้จึงอาจถือได้ว่าเป็นภาพแทนพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตั้งพระทัยให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เสด็จขึ้นครองราชย์ อีกทั้งยังอาจสันนิษฐานได้ว่า พระบรมฉายาลักษณ์นี้ตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อส่งไปถวายจักรพรรดิฝรั่งเศสเป็นการแสดงไมตรีตอบแทน อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในราชสำนักสยาม รวมถึงการเกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซียในยุโรป อาจเป็นเหตุให้การส่งพระบรมฉายาลักษณ์นี้ไม่อาจเกิดขึ้นตามที่ตั้งใจไว้
แม้กระนั้น พระบรมฉายาลักษณ์นี้ได้ตั้งคำถามที่สำคัญว่า หากภาพนี้ได้ถูกส่งไปยังกรุงปารีส ภาพนั้นจะมีบทบาทเช่นไรในการเจรจาและสะท้อนความวิตกกังวลทางการเมืองระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของสัญลักษณ์ผ่านภาพ—โดยเฉพาะเครื่องแบบและเกียรติยศจากชาติมหาอำนาจตะวันตก—ที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการขึ้นครองราชย์ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่ถูกมองข้ามในหมู่ขุนนางสยาม เพราะในการประชุมเสนาบดีเพื่อพิจารณาผู้สืบราชสมบัติ เสนาบดีใหญ่คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้เน้นย้ำถึงความคาดหวังของชาติมหาอำนาจยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส ที่มองว่าเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์คือรัชทายาทผู้ชอบธรรม และในมุมมองทางการทูตระหว่างประเทศแล้ว ทางเลือกนี้ย่อมไร้ข้อโต้แย้ง
บันทึกเหตุการณ์สำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ห้า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระประชวรหนัก ทรงมีพระราชดำรัสถามเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ถึงผลการประชุมเรื่องการสืบราชสมบัติ ขุนนางผู้นี้กราบทูลว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นครองราชย์ และขณะนี้ก็ได้ส่งทหารอารักขาล้อมวังสวนกุหลาบของพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงแสดงความกังวลถึงความเยาว์วัยของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ และทรงเสนอว่ามีพระราชโอรสหรือพระบรมวงศ์องค์อื่นที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิเหมาะสมมากกว่า หากจะเลือกพระองค์อื่น ก็ขอให้ดูแลเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ให้ปลอดภัยด้วย แต่เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ได้กราบทูลตอบว่า หากเจ้าฟ้าไม่ได้เสวยราชสมบัติ จะเกิดความไม่สงบ เพราะทั้งในราชสำนักและต่างประเทศต่างสนับสนุนพระองค์ รวมทั้งจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ก็ยังมีพระราชสาส์นและพระแสงดาบพระราชทานมาด้วยซึ่งแสดงชัดถึงพระราชประสงค์ให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นครองราชย์ (โดยพระแสงดาบนั้นเป็นของพระราชทานจากพระโอรสของจักรพรรดิ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงมีพระราชดำรัสว่า หากที่ประชุมเห็นพ้องกัน ก็ให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์สืบราชสมบัติ
เรื่องราวในพงศาวดารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดอนาคตของการสืบราชบัลลังก์แห่งสยาม ทว่าก็สะท้อนเช่นกันว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์อาจมิได้ทรงมีพระราชอำนาจเต็มที่ในการสืบราชสมบัติของพระองค์ หากแต่ถูกชักนำ—หรืออาจถึงขั้นถูกกำหนด—โดยผู้มีอำนาจที่เห็นว่าพระองค์คือทางเลือกทางการเมืองที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งรวมถึงราชสำนักฝรั่งเศสด้วย พลังเชิงสัญลักษณ์ของของถวายที่พระองค์ได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์นี้
น่าสังเกตว่า จักรสรรดิอังกฤษ กลับมีบทบาทน้อยอย่างเห็นได้ชัดในช่วงเวลาสำคัญนี้ เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียยังทรงไว้ทุกข์หลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอัลเบิร์ตในพุทธศักราช 2404 และทรงเว้นจากพระราชกรณียกิจถึงปี 2409 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอังกฤษในอินเดียยังคงเฝ้าจับตาสถานการณ์ในสยามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะหลังจากที่พม่าได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ลอร์ดดัลฮูซี (Lord Dalhousie) อุปราชอินเดีย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสยามในทางยุทธศาสตร์ตั้งแต่ต้น และได้ผลักดันให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
กล่าวโดยสรุป พระบรมฉายาลักษณ์คู่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เมื่อปีพุทธศักราช 2411 จึงเป็นมากกว่าภาพถ่ายพิธีการ หากแต่เป็นถ้อยแถลงเชิงการทูตที่ผสานความทรงจำ การรับรองจากต่างประเทศ และสัญลักษณ์เชิงยุทธศาสตร์ไว้ด้วยกันอย่างแนบเนียน เครื่องแบบนาวิกโยธินฝรั่งเศสและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ปรากฏในภาพจึงหาใช่เครื่องประดับตกแต่ง หากแต่เป็นเครื่องมือของรัฐในการฝังรากความชอบธรรมของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ไว้ในสายใยแห่งพันธมิตรระหว่างประเทศและการเมืองผ่านภาพถ่าย
A Double Portrait of King Mongkut and Prince Chulalongkorn, 1868
This full-length double portrait of King Mongkut and Prince Chulalongkorn, taken in 1868 by royal court photographer Francis Chit, is the most widely recognised image of the two monarchs—and the only known portrait of them standing side by side. It has been described by scholars as a powerful "visual proclamation" of Prince Chulalongkorn’s right to succeed the Siamese throne. Yet beyond this symbolic reading, the details embedded in the clothing and objects they wore have often been overlooked. These items—particularly the French military-style uniforms and ceremonial swords—played a far more political role than they might seem, helping to visually assert the young Prince’s legitimacy.
The French-style uniforms were diplomatic gifts, given to the King and Prince by the French envoy led by Louis Charles de Montigny in 1856. Though they did not represent any specific military rank, their use in this portrait carried symbolic weight. In 1863, Emperor Napoleon III and his son, the Prince Imperial of France, presented both monarchs with ceremonial French swords—tools of diplomacy that projected French authority and goodwill directly onto the bodies of the Siamese royals.
King Mongkut is seen wearing the prestigious breast star of the Légion d’Honneur, awarded by Napoleon III that same year. Both he and Prince Chulalongkorn also wore the ancient Siamese Order of the Nine Gems to elevate their status further. These gestures were part of a reciprocal exchange of honours between the Siamese and French courts—an elegant diplomatic dance in which gifts became powerful political statements.
Through the lens of Marcel Mauss’s theory of gift-giving, this exchange reflects three obligations: to give, to receive, and to reciprocate. This moral cycle of diplomacy was clearly at play between King Mongkut and the French Emperor. Each side fulfilled these duties, and the display of uniforms, medals, and swords in this portrait helped solidify a sense of mutual respect and political alignment.
The choice of attire was highly deliberate. Dressed in bicorn hats, high-top boots, and tailored uniforms modelled after European naval dress, both figures embraced the visual language of European royalty. Throughout the 19th century, it became fashionable for European monarchs to wear military uniforms for formal events—even if they had never seen battle. This trend, popularised by rulers such as Frederick the Great of Prussia and Napoleon I of France, served as a visual shorthand for power and legitimacy. The same principle applied in this Siamese portrait.
In this context, Prince Chulalongkorn’s position as heir to the throne was visually endorsed by one of Europe’s most powerful empires. The uniforms and decorations lent him not just dignity but the approval of France—an endorsement with serious political implications. The photograph, in many ways, acted as a stand-in for the King’s wish that his son succeed him. It is even possible that King Mongkut intended to send this portrait to the French court as a formal gesture of appreciation. However, political uncertainty at home, along with the outbreak of the Franco-Prussian War in Europe, may have prevented that from happening.
Still, the portrait raises an important question: what might this image have achieved had it reached Paris? As a cultural artefact, it shows how visual symbols—especially foreign uniforms and honours—were used to support Prince Chulalongkorn’s accession. This was not lost on the Siamese court. During a council meeting to discuss succession, Sri Suriyawongse highlighted how European powers, particularly France, saw Chulalongkorn as the rightful heir. From an international standpoint, there was little question about his legitimacy.
A telling moment appears in the Royal Chronicle of the Fifth Reign. As King Mongkut lay dying, he asked a senior official, Surawongse Waiwat, about the outcome of the succession council. Surawongse replied that the council had agreed Prince Chulalongkorn should take the throne and that his palace was already under protection. King Mongkut expressed concern over his son’s youth and noted that other princes were older and more experienced. Yet Surawongse warned that denying Chulalongkorn the throne could lead to instability, since so many—both inside the kingdom and abroad—supported the Prince. He even referenced a sword sent by Louis Napoléon as a sign that the French Emperor viewed Chulalongkorn as heir. King Mongkut ultimately agreed, saying that if the council supported it, the Prince should succeed him.
This account makes it clear that France had a powerful influence in shaping the future of Siamese succession. But it also suggests that Prince Chulalongkorn may not have had full agency in this process. Rather, he was guided—perhaps even manipulated—by those who saw him as the best political choice, including the French court. The symbolic power of the gifts he received was part of this broader strategy.
Interestingly, Britain played a much smaller role in this moment of transition. One possible reason is that Queen Victoria was still in mourning following Prince Albert’s death in 1861. She remained largely absent from public life until 1866. Still, the British government in India kept a close eye on Siam, especially after Burma became a British colony. Lord Dalhousie, Governor-General of India, had recognised the strategic importance of Siam early on and pushed for closer relations.
In summary, the 1868 double portrait of King Mongkut and Prince Chulalongkorn is far more than a ceremonial image. It is a visual and diplomatic statement that intertwines family legacy, foreign endorsement, and strategic symbolism. The French uniforms and honours are not merely decorative—they are instruments of statecraft, embedding Prince Chulalongkorn’s claim to the throne within a broader network of international alliances and visual politics.
#aifashionlab #AI #aiartist #aiart #aifashion #aifashiondesign #aifashionstyling #aifashiondesigner #fashion #fashionhistory #historyoffashion #fashionstyling #fashionphotography #digitalfashion #digitalfashiondesign #digitalcostumedesign #digitaldesign #digitalaiart #ThaiFashionHistory #ThaiFashionAI





